
คู่มือ เตรียมตัวก่อนไปเทรค ที่เนปาล อยากไปเทรคกิ้งใช่ไหมล่ะ? ก่อนไปเทรคกิ้งเนปาล มาเปลี่ยน “ความไม่รู้ ความไม่พร้อม ความไม่แน่ใจว่าต้องทำอะไร เตรียมอะไรบ้าง ความไม่กล้า และ ความที่คิดว่ายาก” มาเป็น “ไปเตรียมตัวกันให้พร้อม ด้วยข้อมูลเบื้องต้น ด้วยตัวเอง ของการ เตรียมตัวก่อนไปเทรค ที่เนปาล ที่ครบ ที่ละเอียด มีคำอธิบายให้เห็นภาพ และ นำไปใช้งานได้จริง ทั้งยังอ่านง่าย แบ่งเป็นข้อๆ ด้วยคู่มือด้านล่างนี้ พร้อม ข้อควรรู้ก่อนไปเทรคกิ้ง เนปาล” ไป เตรียมตัวเทรคกิ้งที่เนปาล พร้อมๆ กันเลยนะคะ
จริงๆ แล้ว เทรคกิ้ง นั้น เป็นเรื่องไม่ยากเลยค่ะ แค่ต้องทำความเข้าใจ, มี รายการของที่ต้องเตรียม ก่อนไปเทรคกิ้งเนปาล และ ยิ่งง่ายเข้าไปใหญ่ หากมีคนบอก คนอธิบาย คนช่วยไขข้อข้องใจ (จะใครละ ก็หยกไง) อีกทั้ง เนปาล ยังเป็นจุดหมายหลักของการเทรคกิ้งของนักท่องเที่ยวทั่วโลก แม้กระทั่ง พี่ไทยเราเอง ด้วยความที่เดินทางง่าย มีไฟลท์ บินตรง ใช้เวลาบินแค่ไม่กี่ชั่วโมง, เวลาแตกต่างกันไม่มาก แค่ชั่วโมงนิดๆ, ไปแค่ 3 วัน 5 วันก็ได้, ไหนจะเป็นเอเชียเหมือนกัน วัฒนธรรมจึงไม่ได้แตกต่างกันสุดโต่ง ไม่มี culture shock เกิดขึ้น, ทั้งยังขอวีซ่าง่าย มีค่าธรรมเนียมที่ไม่แพง ที่สำคัญคือ ค่าครองชีพไม่สูง ค่าใช้จ่ายจึงจับต้องได้ ไม่ต้องเก็บตังค์นาน ก็ไปเที่ยวเนปาลได้แล้ว พร้อมแล้ว ก็ไป จัดกระเป๋าไปเทรคกิ้งเนปาล กันเลยค่ะ
มาค่ะ วันนี้วันดี หยกจะมาเล่าให้ฟัง อย่างละเอียด เป็นขั้นเป็นตอน ถึงการเตรียมตัวเบื้องต้น, ข้อควรรู้ก่อนไปเทรคกิ้ง และ รายการของที่ต้องเตรียมไปเทรคกิ้งเนปาล โดยที่ข้อมูลต่อไปนี้ เพื่อนๆ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับทุกเส้นทาง ทุกสภาพอากาศเลยนะคะ ซึ่งหยกแบ่งออกเป็น ข้อแนะนำ 4 ข้อที่ไม่ควร และ 9 ข้อควรรู้ก่อนไปเทรคกิ้ง เพื่อการเตรียมตัวล่วงหน้า ก่อนไปเทรคกิ้งเนปาล และ จัดกระเป๋าไปเทรคกิ้งเนปาล ที่พร้อมที่สุด

นี่ค่ะ หัวข้อใหญ่ที่หยกจะเล่าให้ฟังในโพสต์นี้ เตรียมตัว เนปาล เย้!
4 ข้อที่ไม่ควร เตรียมตัวก่อนไปเทรค ที่เนปาล
- ไม่ จัดกระเป๋าไปเทรคกิ้งเนปาล ด้วย เสื้อผ้า และ ถุงเท้า ที่ทำจาก ค๊อตตอน, ยีนส์ และ ผ้าฝ้าย
- ไม่ซื้อรองเท้าเดินป่าคู่ใหม่เพื่อใส่เทรคทันที
- ไม่ซื้อรองเท้าเดินป่าโดยไม่ได้ลอง – ไซส์รองเท้าที่ใส่ปกติ ไม่เสมอไปที่จะเป็นไซส์เดียวกับรองเท้าเดินป่า
- ไม่จำเป็นต้องซื้ออุปกรณ์เทรคกิ้งให้ครบทุกอย่าง ของบางอย่างเช่าเอาก่อนก็ได้
9 ข้อควร เตรียมตัวก่อนไปเทรค ที่เนปาล
- ศึกษาข้อมูลทั่วไปของเส้นทางที่จะไป
- ซื้อประกันการเดินทางที่ครอบคลุมกิจกรรมเทรคกิ้ง ในเนปาล + ครอบคลุมการกู้ภัยฉุกเฉินบนเขาสูง
- ฉีดวัคซีน (ที่แนะนำให้ฉีด สำหรับการท่องเที่ยวในเนปาล) ให้พร้อม
- สายการบินไหนบินตรง ไทย – เนปาล, ราคาเท่าไหร่ และ ควรเลือกที่นั่งฝั่งไหนบนเครื่องบิน เพื่อให้เห็นวิวเทือกเขาหิมาลัยพาโนรามางามๆ
- การแลกเงิน THB – NPR
- ซิมการ์ดเนปาล
- น้ำดื่มบนเขา + ยาฆ่าเชื้อในน้ำดื่มก่อนดื่ม + ที่กรองน้ำแบบพกพา
- รายการสิ่งของที่แนะนำให้แบกเองระหว่างเทรค (ไม่ฝากไว้กับลูกหาบ)
- Checklist รายการของที่ต้องเตรียมไปเทรคกิ้งเนปาล (หยกแยกโพสต์ไว้นะคะ)
มองหาทริปลุยๆ มันส์ๆ + ไกด์หญิงคนไทย ? เนปาล? ทาจิกิสถาน? คีร์กีซสถาน? จอร์แดน? ศรีลังกา?
หยกจัดทริปแล้วค่ะ ปี 2565 สนใจทริปไหน คลิ๊กอ่านเพิ่มเติมที่ภาพได้เลยค่ะ ไปผจญภัยกัน!
สำหรับเพื่อนๆ ที่จะเทรคในเขต Annapurna ก็ต้องไปแวะที่ Pokhara เพื่อเดินทางไปยังจุดเริ่มเดิน เพื่อนๆ สามารถจอง ตั๋วรถทัวร์ออนไลน์ Kathmandu ไป Pokhara พร้อมทั้ง ตั๋วกลับ ล่วงหน้าได้นะคะ ทั้งหยกยังมี ข้อมูลท่องเที่ยว Pokhara ให้เพื่อนๆ ได้หาที่เที่ยว หากิจกรรมเพลินๆ ทำก่อนหรือหลังเทรคด้วยค่ะ
เพื่อนๆ มือใหม่ หรือ มือเก่า ที่อยากเทรค แต่ไม่รู้จะเริ่มอะไร เริ่มตรงไหน ยังไง และอยากให้หยกพาเทรค ก็จัดไปเลยค่ะ หยกจัดทริปพาเทรคกิ้งที่เนปาลด้วยค่ะ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ และทักหยกเข้ามาได้เลยค่ะ
บทความข้อมูลเทรคกิ้งเนปาล
สำหรับเพื่อนๆ ที่อยากลองเทรค อยากเที่ยวแนวนี้ แต่เริ่มไม่ถูก ไม่รู้จะหาข้อมูลเกี่ยวกับการเทรคกิ้งทั้งหมดได้ที่ไหน หรือแม้แต่เพื่อนๆ ที่หลงใหลการเทรคกิ้งเนปาล ที่อยากได้ข้อมูลเทรคกิ้งเพิ่ม นี่เลยค่ะ ที่เดียวกับข้อมูลเต็มๆ
- ไฮกิ้ง เทรคกิ้ง คืออะไร? ต่างกันยังไง? พร้อมคำอธิบายที่แจ่มชัด และตัวอย่าง
- ข้อมูลเทรคกิ้งบนเส้นทาง Poon Hill
- ข้อมูลเทรคกิ้งบนเส้นทาง Langtang
- ข้อมูลเทรคกิ้งบนเส้นทาง Annapurna Circuit ที่รวม Tilicho Lake ทะเลสาบสีฟ้าสุดเข้ม และ สวยงามสุดๆ เข้าไว้ด้วย
- ข้อมูลเทรคกิ้งบนเส้นทาง Mohare + Khopra
- ข้อมูลเทรคกิ้งบนเส้นทาง Everest Base Camp (EBC) + Kalapatthar
- ไป Pokhara พักที่ไหนดี มีอะไรเที่ยว
- Checklist เตรียมอะไรไปเทรคกิ้ง ที่สามารถเตรียมเองได้ ไม่มีสิ่งนี้ ทำยังไง หาอะไรทดแทน หาซื้อที่ไหน เตรียมสิ่งนี้ไปทำไม ใช้ประโยชน์อะไร
- How to ขอวีซ่าเนปาล ตั้งแต่การเตรียมการณ์มาจากบ้าน เพื่อยื่นขอ Visa On Arrival ที่สนามบินตรีภูวัน
- ข้อมูลการเตรียมตัว ก่อนไปเทรคกิ้งเนปาล ให้พร้อมที่สุด ต้องเตรียมอะไร, เทรคเส้นไหน, ประกันบริษัทอะไรดี, ฉีดวัคซีนไหม, Permits อะไรบ้าง, น้ำดื่มล่ะ, ซิมการ์ดแพงไหม และ แลกเงินที่ไหน ฯลฯ
- AMS – อาการทั่วไป? อาการรุนแรง? เกิดกับใคร? ที่ไหน? ป้องกัน+หลีกเลี่ยงยังไง? ข้อควรปฏิบัติ? ถ้ามีอาการต้องทำยังไง? รักษาได้ไหม?
- ประกันเดินทางต่างประเทศ และ ประกันเดินทางที่ครอบคลุมเทรคกิ้งเนปาล บนเขาสูงไม่เกิน 4,500 m + ครอบคลุมทั่วโลก เช่น เนปาล, ยุโรป, อเมริกา & ประเทศอื่นๆ + ครอบคลุมค่ารักษาโควิด
- DOs & DON’Ts ระหว่างเทรคกิ้ง เนปาล ข้อควรรู้ อะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ – ใส่หูฟังฟังเพลง? ให้ขนมเด็กบนเขา? เดินลุยข้ามแม่น้ำ ต้องถอดรองเท้าเดินป่า? ต้องทำยังไงเพื่อไม่ให้เมื่อยกล้ามเนื้อ? ฯลฯ
เป็นยังไงละคะ เพื่อนๆ ได้ข้อมูลเกี่ยวกับการเทรคกิ้งที่ครบถ้วน ที่ละเอียด อ่านง่าย เข้าใจเองได้ และยังทำตามได้เองสบายๆ เลยใช่ไหมล่ะ หากมีข้อสงสัยใดๆ คอมเม้นต์ที่ช่องคอมเม้นต์ด้านล่าง เข้ามาได้เลยนะคะ หยกรอตอบแล้วค่ะ

4 ข้อที่ไม่ควร สำหรับการ เตรียมตัวก่อนไปเทรค ที่เนปาล อ้าว.. แล้วควรทำยังไงแทนล่ะ?
มาดู 4 ข้อไม่ควร พกลงใน รายการของที่ต้องเตรียม ก่อนไปเทรคกิ้งเนปาล กันก่อนนะคะ จะได้ไปควรกันได้ง่ายๆ ในข้อถัดไป 55+ อย่า-งง-เนอะ
1. ไม่ จัดกระเป๋าไปเทรคกิ้งเนปาล ด้วย เสื้อผ้าและถุงเท้าที่ทำจาก ค๊อตตอน, ยีนส์ และ ผ้าฝ้าย
อีกหนึ่ง ข้อควรรู้ก่อนไปเทรคกิ้ง ที่สำคัญ ก็วัสดุเหล่านี้มีคุณสมบัติที่ไม่เอื้ออำนวยต่อกิจกรรมการเทรคกิ้งหลายอย่างเลยน่ะสิคะ เช่น
a) น้ำหนักที่หนัก
ไม่เหมาะสำหรับการเทรคกิ้ง ที่น้ำหนัก และการแบกของเป็นสิ่งสำคัญ
b) ไม่ระบายอากาศ
จึงเหม็นอับง่าย ไม่เหมาะกับกิจกรรมการเทรคกิ้ง ที่มีการเสียเหงื่อมาก และยังมีการจำกัดต่อการอาบน้ำ และ ซักผ้าอีกด้วย
c) อมน้ำ และ แห้งยาก
นอกจากจะเก็บความเปียกจากเหงื่อแล้ว หากฝนตก ลูกเห็บตก หรือ หิมะตก เสื้อผ้าและถุงเท้าที่อมน้ำนั้น จะยังคงอมน้ำและแห้งยาก ส่งผลให้ร่างกายเปียกชื้น และเย็น ยิ่งหากมีลมแรงด้วย จะยิ่งทำให้หนาวเย็นมากขึ้นไปอีก อีกทั้งหลังพายุเหล่านี้หมดไปแล้ว เสื้อผ้าก็จะแห้งไม่ทันใส่หรือเก็บในวันพรุ่งนี้
d) แห้งยาก
ไม่เหมาะกับการเทรคกิ้ง ที่เรามักจะมีเวลาซักผ้า แค่ช่วงบ่ายแก่ๆ หรือเย็น หลังจากที่เราเดินถึงที่พักแล้ว ทั้งเรายังอยู่บนเขาสูง ที่เมฆหมอกอาจหนา อากาศหนาวเย็น และไม่มีแดด ทำให้เสื้อผ้าที่ทำจากวัสดุเหล่านั้นแห้งไม่ทัน
วิธีแก้ปัญหา ที่หยกเลือก จัดกระเป๋าไปเทรคกิ้งเนปาล ด้วยของที่ทำจากวัสดุเหล่านี้แทน
เลือกเสื้อผ้าที่ทำจาก polyester และ ขนสัตว์ ในกรณีที่ต้องการความอบอุ่น (เช่น ขนแกะ merino หรือ ขนเป็ด) แทน
- เสื้อ และ กางเกงเดินป่าทั้งขาสั้นและยาว ทำจาก polyester 100%
- ถุงเท้าทำจากขนแกะ merino (merino wool) 80 – 100 %
- base layers ทั้งเสื้อและกางเกง merino wool 100%
- หมวกไหมพรม (beanie) ทำจาก merino wool 80%
- เสื้อกันหนาวขนเป็ด (down jacket) 100%

2. ไม่ซื้อรองเท้าเดินป่าคู่ใหม่ เพื่อใส่เทรคทันที! โดยที่ยังไม่ได้ทำความคุ้นชินกับรองเท้าก่อน
เท้า คือ อวัยวะที่สำคัญ สำหรับกิจกรรมการเทรคกิ้ง ยิ่งการที่ต้องเดินขึ้นทางชัน ลงทางลาด ทุกวัน เป็นระยะเวลาติดต่อกัน 3 วัน 5 วัน 7 วัน หรือ นานกว่านี้ ที่เปลี่ยนใจ กลับบ้านไม่ได้ทันที ที่ไม่ได้มี คลินิก หรือ โรงพยาบาล บนเขาระหว่างทาง ที่หากตัดสินใจมาเทรคแล้ว ก็ต้องพยายามเทรคให้จบ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาต่างๆ ที่จะตามมา
การ เตรียมตัวก่อนไปเทรค ที่เนปาล โดยการซื้อรองเท้าเดินป่าคู่ใหม่ เพื่อไปใส่เทรคเลยนั้น นอกจากจะเสี่ยงต่อการโดนรองเท้ากัด ที่นำไปสู่การเจ็บปวดทรมาน ที่เราต้องบังคับตัวเองให้ทนเดินต่อ เพราะไม่ได้มีผลกระทบแค่กับเราคนเดียว แต่ยังมีกลุ่มเพื่อนที่มาด้วยกัน มีเอเจนซี่ ไกด์ และ ลูกหาบ ที่หากต้องเลิกเทรคไปนั้น ก็จะกระทบทั้งความรู้สึกส่วนตัว เสียใจ เสียเงิน และ เสียเวลา เลยนะคะ
คงไม่มีใครที่อยากโดนรองเท้ากัด ตั้งแต่การเดินวันเทรคแรกใช่ไหมล่ะคะ ดังนั้นแล้ว โปรดมั่นใจว่า รองเท้าคู่ที่เราจะใส่มาเทรคนั้น ชินกับเท้าเราแล้ว และ เราลองใส่เดินๆๆๆ แล้วก็เดินขึ้นบันได ลงบันได เดินนานๆ และ มั่นใจว่าใส่สบาย ไม่เจ็บ ไม่ปวด ไม่กัด ก่อนที่จะใส่มาเทรค มาลองสนามจริงนะคะ
คำแนะนำ
ถ้าจะตัดเล็บเท้าก่อนเดินทางไปเทรคกิ้ง ควรตัดเล็บเท้าอย่างน้อย 2 – 3 วันก่อนวันที่ต้องใส่รองเท้าเทรคกิ้งนะคะ เพราะบางทีเราตัดเล็บสั้นเกินไป นิ้วที่เล็บสั้นเกินจะไปเสียดสีกับรองเท้า แล้วอาจเกิดการบาดเจ็บได้ค่ะ

3. ไม่ซื้อรองเท้าเดินป่าโดยไม่ได้ลอง! เพราะขนาดรองเท้าที่ใส่ในชีวิตประจำวัน ไม่เสมอไปที่จะเป็นขนาดเดียวกันกับรองเท้าเดินป่า
การเลือกรองเท้าเดินป่า นั้นไม่ง่ายค่ะ และไม่ได้เหมือนการเลือกรองเท้าทั่วๆ ไป จึงไม่แนะนำให้ซื้อรองเท้าเดินป่าออนไลน์ หรือ ฝากเพื่อนที่ไปเที่ยวเมืองนอกซื้อมาให้ เด็ดขาด หรือ ซื้อเพราะรีวิวบอกว่า รุ่นนี้ดี เพราะจะเท่ากับการเสียเงินไปโดยเปล่าประโยชน์นะคะ
4. ไม่จำเป็นต้องซื้ออุปกรณ์เทรคกิ้งให้ครบทุกอย่าง เพราะของบางอย่างสามารถเช่าเอาก่อนก็ได้
หนึ่งในการ เตรียมตัวก่อนไปเทรค ที่เนปาล นั้น ก็คือ การเตรียมอุปกรณ์เทรคกิ้งให้พร้อม ซึ่งอุปกรณ์ที่มีคุณภาพเหล่านี้นั้น มีราคาแพงมากๆ ค่ะ อีกทั้งของหลายอย่าง(ยัง)ไม่จำเป็นต้องซื้อ (จนกว่าจะมั่นใจว่าเราจะได้ใช้อีกแน่ๆ) แต่สามารถหาเช่าเอาไป(ลอง)ใช้ก่อน ในราคาที่ไม่แพง โดยสามารถหาเช่าได้ที่ในร้าน outdoor ต่างๆ ที่มีมากมายในย่าน Thamel ใน Kathmandu ได้เลยค่ะ
แนะนำเส้นทางเทรคกิ้งเนปาล เพื่อจะช่วยเลือกได้ว่าไปเทรคเส้นทางไหนดี
ในเขต Annapurna
- เส้นทางฮิต Poon Hill Trek ที่เลือกเทรคได้ตั้งแต่ 3 – 5 วัน
- Mardi Himal Trek ใช้เวลา 4 – 7 วัน
- เส้นทางน้องใหม่ ใกล้ Poon Hill กับ Mohare + Khopra Trek ใช้เวลา 9 – 10 วัน
- เส้นทางในฝันของใครหลายคน ความท้าทายของ Thorong La Pass 5416 m กับ Annapurna Circuit + Tilicho Lake Trek ใช้เวลา 14 – 20 วัน
ในเขต Everest หรือ Khumbu
- Everest Base Camp (EBC) + Kalapatthar Trek ใช้เวลา 10 – 17 วัน
ในเขต Langtang
- Langtang Trek ใช้เวลา 5 – 12 วัน
ในเขต Manaslu
- ฮาร์ทคอร์หน่อย ก็ต้องเขตหวงห้าม Manslu Circuit & Tsum Valley Trek ใช้เวลา 20 – 22 วัน มี Manaslu Base Camp ให้ได้เทรคด้วยค่ะ

9 ข้อควร เตรียมตัวก่อนไปเทรค ที่เนปาล
สำหรับเพื่อนๆ ที่อ่านแล้ว ก็ยังงงและไม่เข้าใจอยู่ดี ก็ มาเที่ยวมาเทรคกับหยก ได้นะคะ หยกจะพาเตรียมตัว ก่อนไปเทรคกิ้งเนปาล ให้พร้อมเองค่ะ ง่ายและสบายมากเลยแหละค่ะทีนี้
ความจริงจังของการเตรียมตัว ก่อนไปเทรคกิ้งเนปาล อยู่ที่หัวข้อนี้ค่ะ ไม่พูดพร่ำทำเพลง (เพราะร้องเพลงเพี้ยน 555+) ไปดู ข้อควรรู้ก่อนไปเทรคกิ้ง และ เตรียมตัวไปพร้อมๆ กันเลยค่ะ
1. ศึกษาข้อมูลทั่วไปของเส้นทางที่จะไป
1.1) เส้นทางที่เดินชื่ออะไร? เดินกี่วัน? วันไหนเดินสั้นเดินยาว? ไปที่ความสูงเท่าไหร่บ้าง? ความสูงสูงสุดที่จะเทรคล่ะ? AMS? มีวันพักไหม? เป็นต้น
พวกนี้เป็นข้อมูลเบื้องต้น ข้อควรรู้ก่อนไปเทรคกิ้ง ที่เพื่อนๆ ควรจะทราบค่ะ หากถามว่าจำเป็นที่จะต้องรู้ไม่? ไม่ค่ะ แต่หากจะบอกว่า หากเพื่อนๆ พอจะทราบข้อมูลเหล่านี้บ้าง จะทำให้เทรคสนุกขึ้นล่ะคะ มันก็น่าทราบไว้ ไม่เสียหายอะไรใช่ไหมล่ะคะ
ใช่ค่ะ ข้อมูลเหล่านี้มีประโยชน์ในหลายๆ แง่ ซึ่งเป็นสิ่งแรกๆ ที่คนมักจะไม่ เตรียมตัวก่อนไปเทรค ที่เนปาล เพราะคิดว่าเรามากับเพื่อน หรือ เรามีไกด์ แต่ทราบไหมคะว่า การทำการบ้านในเรื่องนี้มาก่อนนั้น นอกจากจะช่วยให้คุยกับคนอื่นรู้เรื่องแล้ว ยังช่วยให้เพื่อนๆ สามารถเตรียมตัวได้ดีขึ้นอีกด้วย (เพราะรู้ล่วงหน้า) ว่าวันไหนเดินมากเดินน้อย? ไปที่ความสูงเท่าไหร่? วันไหนเสี่ยงเกิด AMS? วันไหนวันพัก? วันพักคือพักจริงๆ? หรือ ต้องไฮกิ้งไปไหน?
เพื่ออะไร? ก็เพื่อที่จะได้รู้ว่า วันไหนจะ
- ต้องเตรียมน้ำเตรียมขนมพกไปด้วยเท่าไหร่
- ต้องเดินทรหดๆ ต้องพกยาดมยาอมยาหม่องให้ใกล้มือ ให้หยิบง่ายๆ ไหม
- เสี่ยงต่อ AMS จะได้ระมัดระวังเป็นพิเศษสักหน่อย
- ได้อาบน้ำ ซักผ้า
- ได้ตื่นสาย พักผ่อนอ่านหนังสือ เล่นไพ่เล่นเกมส์สนุกๆ
เป็นต้น

1.2) สภาพอากาศโดยทั่วไปเป็นยังไง จะได้ จัดกระเป๋า ก่อนไปเทรคกิ้งเนปาล ถูกและพร้อมยังไงล่ะคะ
เนื่องจากสภาพอากาศบนเขาเป็นสิ่งที่คาดการณ์ไม่ได้ การเตรียมตัวมาให้พร้อม คือมีอุปกรณ์กันหนาวที่พร้อม จึงสำคัญมาก ทั้งเรายังไม่สามารถหาซื้ออุปกรณ์กันหนาวบนเขาได้ ดังนั้นแล้ว หากเรา เตรียมของ ก่อนไปเทรคกิ้งเนปาล มีของที่จำเป็นพร้อม แต่ไม่ได้ใช้งาน ก็ยังดีกว่า ต้องการใช้งาน แต่ของไม่มีนะคะ
เช่น ตอนที่หยกเทรคบนเส้นทาง Mohare + Khopra และ Mardi Himal นั้น ช่วงที่หยกไป อากาศแปรปรวนค่ะ มีพายุเข้า ทำให้เส้นทางเดินบนเขาสูง 3,000 เมตรขึ้นไป มีหิมะปกคลุมอยู่เกือบตลอดเส้นทาง หยกจึงได้เตรียม microspikes ไปด้วย (โดยซื้อที่ Kathmandu) หากหยกไม่หาข้อมูลเรื่องสภาพอากาศก่อนไป หยกคงต้องเดินกลับ เทรคไม่ได้แน่ค่ะ ซึ่งนักท่องเที่ยวหลายท่านที่เจอกัน ก็มีทั้งหันหลังกลับ และ เสี่ยงเดินบนหิมะ เป็นต้น
1.2.1) โดยทั่วไปแล้ว สภาพอากาศบนเขาสูงที่ต่ำกว่า 3,000 เมตร
A). อากาศตอนกลางวัน โดยทั่วไปจะอุ่นถึงเย็นสบาย เพราะมีแสงแดดค่ะ โดยไม่จำเป็นต้องใส่เสื้อกันหนาวค่ะ
B). ส่วนตอนค่ำๆ อากาศสามารถเย็นแบบเลขตัวเดียวได้ ยิ่งหากมีลมอาจจะทำให้หนาวมากขึ้นค่ะ
C). ที่พัก ในห้องอาหารบนเขาสูงในเขตที่หนาว จะมีที่ทำความอุ่น (ไม่มีในห้องนอนนะคะ) ดังนั้น เราจะอุ่นขณะอยู่ในห้องอาหารค่ะ แต่เมื่อเราต้องเดินออกจากห้องอาหาร เช่น ไปเข้าห้องน้ำ หรือ ออกมาชมวิว อากาศก็จะเย็นค่ะ ส่วนในห้องนอนนั้น ไม่ต้องพูดถึง ก็สามารถหนาวเย็นมากๆ ได้เลยค่ะ
D). ตอนนอน เราจึงต้องมีถุงนอน เพื่อช่วยให้ความอบอุ่น

1.2.2) ส่วนสภาพอากาศโดยปกติทั่วไป (ที่ไม่มีลมแรง อากาศไม่แปรปรวน และไม่มีพายุ) บนเขาสูงที่สูงระหว่าง 3,000 – 4,000 เมตร
A). อากาศตอนกลางวัน โดยทั่วไปจะหนาวเมื่ออยู่ใต้ร่มไม้ แต่จะเย็นสบายเมื่ออยู่ท่ามกลางแสงแดด และจะอุ่นจนร้อนเมื่อขณะเดินค่ะ ดังนั้น ควรใส่เสื้อแขนยาวบางๆ ไม่หนาเดิน โดยให้พกเสื้อกันหนาวขนเป็ดไว้ในกระเป๋าค่ะ ทั้งยังแนะนำให้พกหมวกไหมพรม, ถุงมือ และ เสื้อกันลมกันฝน (เผื่ออากาศแปรปรวน) ไว้ด้วยค่ะ
B). ส่วนตอนค่ำๆ อากาศสามารถเย็นแบบเลขตัวเดียวหรือติดลบได้ ก็คงไม่ต้องบอกว่าจะหนาวมากแค่ไหนนะคะ
C). ในห้องอาหารบนเขาสูงๆ ขนาดนี้ จะมีที่ทำความอุ่น (ไม่มีในห้องนอนนะคะ) ที่อุ่นไฟไว้พร้อมตลอดเวลาค่ะ ดังนั้น เราจะอุ่นขณะอยู่ในห้องอาหารค่ะ แต่เมื่อเราต้องเดินออกจากห้องอาหาร เช่น ไปเข้าห้องน้ำ หรือ ออกมาชมวิว อากาศก็จะหนาวเย็นยะเยือกเลยค่ะ ส่วนในห้องนอนนั้น ไม่ต้องพูดถึง เพราะจะหนาวเย็นมากๆ
D). ตอนนอน นอกจากถุงนอนแล้ว ยังแนะนำให้ใส่ base layers (ทั้งเสื้อและกางเกง), ถุงเท้า และหมวกไหมพรม ที่ทำจาก merino wool เพื่อให้ความอบอุ่น สำหรับคนขึ้หนาวมากๆ (อย่างหยก) จะให้ความอบอุ่นมากขึ้นๆ จนถึงร้อนเลยค่ะ แบบที่ตกดึกต้องเปิดถุงนอนนอนเลยทีเดียว
ทั้งนี้ นำไปประยุกต์ใช้ จัดกระเป๋าไปเทรคกิ้งเนปาล ให้ถูกกับสภาพอากาศบนเส้นทางเทรคของเพื่อนๆ และ ช่วงเวลาที่เพื่อนๆ จะไปอีกทีนะคะ

1.3) ใบอนุญาตเดินป่า Permit กับ เอกสารที่ต้องเตรียมไปเพื่อใช้ให้ครอบคลุม Permit ทุกชนิด
ใบ Permit นั้นมีหลายชนิดค่ะ ขึ้นกับพื้นที่ที่จะไปเทรค เช่น Poon Hill ที่อยู่ในเขต Annapurna เทรคเกอร์ต้องขอ TIMS card และ ACAP เป็นต้น
ทั้งนี้ การขอใบ Permit นั้นไม่ยากและต้องการเอกสารไม่เยอะค่ะ ซึ่งเอกสารที่ใช้สำหรับการขอ Permit ปกติ คือ
- สำเนาหนังสือเดินทาง
- รูปภาพติดบัตร
แค่นี้เองค่ะ เอกสารที่ใช้ง่ายมากๆ
ดังนั้นแล้ว สิ่งที่ต้องเตรียมไปด้วยตลอดๆ ก็จะมีภาพถ่ายนี่แหละค่ะ พกไปสัก 3 – 4 ใบก็อุ่นใจแล้ว (1 ใบ เอาไว้ใช้ซื้อซิมการ์ดที่เนปาลค่ะ) และ สำเนาหนังสือเดินทาง ด้วยนะคะ
ส่วนใบ Permit พิเศษ เช่น Manaslu ที่อยู่ในเขต Manaslu ซึ่งเป็นเขตหวงห้าม ก็จะมีเอกสารมากขึ้น เช่น สำเนากรมธรรม์ประกันการเดินทางที่ครอบคลุมการกู้ภัยบนเขาสูง เป็นต้น
จะเทรคเส้นทางไหน ก็ขอใบ Permit ของเส้นทางนั้นนะคะ
สำหรับเพื่อนๆ ที่ไม่มีเวลาจะศึกษาข้อมูลล่วงหน้าไป ก็มา เทรคกับหยก ได้นะคะ หยกจะเล่าทุกอย่างให้ฟังเองค่ะ ง่าย สบาย และจะสนุกมากเลยค่ะทีนี้

2. ซื้อประกันการเดินทางที่ครอบคลุมกิจกรรมเทรคกิ้ง ในเนปาล + การกู้ภัยฉุกเฉินบนเขาสูง
ปัจจุบัน ประกันการเดินทาง ที่ครอบคลุมกิจกรรมเทรคกิ้ง ในเนปาล นั้น หายากมากๆ แล้วค่ะ บริษัทต่างๆ ที่เคยครอบคลุมการเทรคกิ้งบนภูเขาสูง ก็ต่างยกเลิกการครอบคลุมการเทรคกิ้งในเนปาลกันไปหมดแล้ว ปัญหาหนักเลยสิค่ะ สำหรับเพื่อนๆ ที่จะไปเทรคกิ้งที่เนปาล คือการหาประกันนี้ยากกว่าการหาวันลาซะอีก
ประกันซื้อไว้ให้อุ่นใจ แต่ไม่จำเป็นต้องใช้นะคะ
แต่อย่ากังวลไปค่ะ จะบอกข่าวดี เพราะหยกหาเจอแล้วค่ะ เป็น บริษัทที่หยกใช้ประจำ นอกจากเนปาลแล้ว ยังครอบคลุมหลายประเทศทั่วโลก กับการท่องเที่ยวแนวลุยๆ เดินป่า เดินเขาทั้งหลาย ไม่ว่าจะในยุโรป, คีร์กีซสถาน หรือ ทาจิกิสถาน ก็ครอบคลุมหมดเลยค่ะ (ไม่ได้มีใครจ้างให้หยกเอามาลงนะคะ) ที่สำคัญคือ ครอบคลุมกิจกรรมเทรคกิ้งบนเขาสูง กับความสูงบนเขาของที่ๆ จะไป ไม่เกิน 4,500 m เลยนะคะ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมและดูรายละเอียดของกรมธรรม์ได้ที่นี่
หมายเหตุ: หยกยังไม่เคยเคลมนะคะ และไม่อยากจะต้องมีโอกาสได้ใช้ด้วยค่ะ

3. เตรียมตัวก่อนไปเทรค ที่เนปาล กับ การฉีดวัคซีน ไปให้พร้อม
เพราะสุขภาพเป็นสิ่งที่สำคัญ อีก ข้อควรรู้ก่อนไปเทรคกิ้ง ที่หลายคนละเลย อยากเที่ยว มีสุขภาพดี และแข็งแรง ไปนานๆ มาดูแลและปกป้องสุขภาพให้ครอบคลุมที่สุด ตั้งแต่เรื่องเล็กๆ ง่ายๆ ที่ทำได้เอง เช่น การฉีดวัคซีน (ที่แนะนำให้ฉีด สำหรับการท่องเที่ยวในเนปาล) กันนะคะ
แม้ปัจจุบันจะยังไม่มีกฎหรือข้อบังคับใดๆ เกี่ยวกับการได้รับวัคซีนก่อนเดินทางเข้าประเทศเนปาล แต่ทั้งนี้ ก็มีวัคซีนที่แนะนำว่านักท่องเที่ยวควรได้รับ ได้แก่ Typhoid, Hepatitis A, Hepatitis B และ Rabies เป็นต้น เนื่องจากมีความเสี่ยงในการติดเชื้อสูงในเนปาล ซึ่งวัคซีนส่วนใหญ่ที่แนะนำให้ได้รับนั้น ก็เป็นวัคซีนพื้นฐานที่คนไทยเราต้องได้รับอยู่แล้วค่ะ
แล้วทราบไหมคะ ว่าวัคซีนที่เราเคยฉีดไปนั้นก็มีวันหมดอายุ?
สิ่งที่ทำได้ง่ายๆ เลย เพื่อดูว่าวัคซีนที่เพื่อนๆ เคยฉีดไปนั้นหมดอายุหรือยัง ก็คือ ไปปรึกษาคุณหมอ แล้วแจ้งว่าฉีดวัคซีนอะไร ไปเมื่อไหร่ คุณหมอจะให้ความกระจ่างและแนะนำ (หากต้องฉีดซ้ำ) เองค่ะ
หากจำไม่ได้เลยว่า เคยฉีดอะไรไปไหม เมื่อไหร่ ทุกอย่างเกี่ยวกับการเคยฉีดวัคซีนนั้นว่างเปล่า ก็ไม่ต้องตกใจไปค่ะ ง่ายๆ เลย แนะนำให้หาเวลา แล้วไปปรึกษาคุณหมอ เพื่อขอคำแนะนำที่ถูกต้องค่ะ
ควรพึงระลึกอยู่เสมอว่า วัคซีนบางชนิดต้องฉีดมากกว่า 1 ครั้ง โดยอาจมีระยะเวลาห่างกันเป็นเวลาหลายสัปดาห์จนถึงหลายเดือนเลยก็ได้ จึงควรมีการเตรียมการล่วงหน้าเพื่อวางแผนในการรับวัคซีนก่อนเดินทางแต่เนิ่นๆ นะคะ
เพื่อนๆ สามารถปรึกษา เรื่องการรับวัคซีน และ เรื่องการ เตรียมตัวก่อนไปเทรค ที่เนปาล อื่นๆ ได้กับผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์และการท่องเที่ยว ที่ คลินิกเวชศาสตร์ท่องเที่ยวและการเดินทาง โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล เลยค่ะ รับรองค่ะว่าคุณหมอที่เพื่อนๆ ไปพบ นั้นเคยไปเทรคที่เนปาลมาแล้วอย่างน้อย 1 ครั้ง

4. เตรียมตัว เนปาล กับ สายการบินที่บินตรง ไทย – เนปาล ราคาเท่าไหร่ และ ควรเลือกที่นั่งฝั่งไหนบนเครื่องบิน
4.1) สายการบินที่บินตรง ไทย – เนปาล ราคาเท่าไหร่
โชคดีมากที่ปัจจุบันมี 3 สายการบิน ที่บินตรง จากประเทศไทยไปเนปาล ที่มีบินจากทั้งสุวรรณภูมิและดอนเมือง คือ
1. Thai Airways
บินจากสนามบินสุวรรณภูมิ มีเที่ยวบินทุกวัน วันละรอบ ค่าตั๋วไป – กลับประมาณ 11,000 – 18,000 บาท มีอาหารบริการ และ โหลดสัมภาระได้ฟรี 30 kg
ขาไป: 10.30 – 12.45 น. | ขากลับ: 13.55 – 18.30 น.
2. Nepal Airlines
บินจากสนามบินสุวรรณภูมิเช่นกันค่ะ มีเที่ยวบิน 3 วันต่อสัปดาห์เท่านั้น คือวันจันทร์, พุธ และ ศุกร์ วันละรอบ ค่าตั๋วไป – กลับประมาณ 10,000 – 13,000 บาท มีอาหารบริการ และ โหลดสัมภาระได้ฟรี 30 kg
ขาไป: 17.00 – 19.15 น. | ขากลับ: 11.25 – 16.00 น.
3. Lion Air
บินจากสนามบินดอนเมืองค่ะ มีเที่ยวบินทุกวัน วันละรอบ ค่าตั๋วไป – กลับ เริ่มต้น 6,500 บาท ไม่มีอาหารบริการ และ ต้องซื้อน้ำหนักโหลดสัมภาระเพิ่ม (น้ำหนัก 15 kg ราคาประมาณ 625 บาทค่ะ)
ขาไป: 12.00 – 14.00 น. | ขากลับ: 15.00 – 19.45 น.
* ราคาค่าตั๋วโดยสารและเที่ยวบินสามารถมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา โปรดตรวจสอบข้อมูลราคาและเที่ยวบินอีกครั้งก่อนเดินทางนะคะ เพื่อที่จะได้ราคาและเที่ยวบินที่เป็นปัจจุบันค่ะ *

4.2) ข้อควรรู้ก่อนไปเทรคกิ้ง เลือกที่นั่งบนเครื่อง และ เตรียมตัวลงจากเครื่อง
1. ไฟลท์จากไทยไปเนปาล ให้ขอนั่งด้านขวา ส่วนไฟลท์ขากลับจากเนปาลกลับไทย ให้ขอที่นั่งด้านซ้าย เพื่อที่จะได้เห็นวิวเขาหิมาลัยที่สวยงามจากหน้าต่างเครื่องบินค่ะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าอากาศดี ฟ้าเปิด จะได้เห็นวิวหิมาลัยที่สวยงามมากๆ
2. สำหรับเพื่อนๆ ที่ขอ Visa on Arrival แนะนำให้ขอที่นั่งหน้าๆ นะคะ จะได้ออกจากเครื่องเร็วๆ เพื่อไปต่อคิวยื่นวีซ่าค่ะ ไม่เช่นนั้น จะเสียเวลาค่อนข้างนาน เพราะนักท่องเที่ยวเยอะ และการดำเนินการที่ค่อนข้างช้าค่ะ
3. ก่อนถึงสนามบินตรีภูวัน 30 นาทีก่อนเครื่องลง แนะนำให้เข้าห้องน้ำห้องท่าให้เรียบร้อยค่ะ เพราะจะไม่ได้เข้าจนกว่าจะขอวีซ่าเสร็จ หรือถ้าไปเข้าตอนถึงสนามบิน (ก่อนการขอวีซ่า) คิวขอวีซ่าจะยาวมากๆ ค่ะ
4. ก่อนถึงสนามบินตรีภูวัน เตรียมเอกสารวีซ่าออนไลน์ที่ปริ๊นมา + arrival form ที่แจกบนเครื่อง (กรอกให้เรียบร้อย) + หนังสือเดินทาง + เงินค่าธรรมเนียมวีซ่า ให้พร้อมนะคะ

5. เตรียมตัว เนปาล กับ การแลกเงิน THB – NPR
อีก ข้อควรรู้ก่อนไปเทรคกิ้ง และ เตรียมตัวก่อนไปเทรค ที่เนปาล ที่เพื่อนๆ หลายคนเสียทรัพย์ไปเยอะ กับการแลกเงินไปมา โดยมักจะแลก THB เป็น USD จากที่ไทย แล้วใช้ USD แลกเป็น NPR ที่เนปาลอีกที ซึ่งทำให้เสียค่าอัตราแลกเปลี่ยนสองต่อ, เสียเวลา และไม่จำเป็นเลยค่ะ
- สามารถใช้ เงินไทยบาท THB แลกเป็นเงิน เนปาลีรูปี NPR ได้เลย
- ไม่จำเป็นต้องแลกเป็น เงินดอลลาร์สหรัฐ USD มาก่อน
- สามารถแลกเงินได้ที่ 1) สนามบินตรีภูวัน ประเทศเนปาล (เรทแย่มาก) 2) ย่านทาเมล เมืองกาฐมาณฑุ 3) เมืองโพคารา ประเทศเนปาล ได้เลยค่ะ
- ไม่จำเป็นต้องแลกเงินมาจากไทย
6. เตรียมตัว เนปาล กับ ซิมการ์ดเนปาล
สามารถซื้อซิมการ์ดได้ที่สนามบินตรีภูวันได้เลยค่ะ โดยจะมีเคาน์เตอร์ขายซิมการ์ด NCell ที่ประตูทางออกด้านนอกสุด โดยมีหลายแพ็คเกจให้เลือก ตั้งแต่ 7 วัน ไปจนถึงรายเดือน ในราคาถูกมากมาย เช่น 30 วัน 5 GB ราคา 800 rs (ประมาณ 215 บาท) มีเอกสารที่ต้องใช้สำหรับการซื้อซิมการ์ด คือ
- รูปถ่ายขนาด 1×1 นิ้ว จำนวน 1 รูป
- หนังสือเดินทางตัวจริง

7. น้ำดื่มบนเขา + ยาฆ่าเชื้อในน้ำดื่มก่อนดื่ม + ที่กรองน้ำแบบพกพา
เรื่องน้ำดื่มบนเขาระหว่างเทรคกิ้งนั้น เป็นเรื่องสำคัญที่เราต้องทราบก่อน เพื่อการ เตรียมตัวก่อนไปเทรค ที่เนปาล ที่ดีพร้อมที่สุดค่ะ
หมายเหตุ:
ข้อควรรู้ก่อนไปเทรคกิ้ง เรื่องน้ำบนเขา เป็นน้ำที่มาจากการละลายของธารน้ำแข็ง และใสมากค่ะ นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ใช้วิธีใส่ยาฆ่าเชื้อก่อนดื่มค่ะ
7.1) น้ำดื่มบนเขา
ตาม teahouse บนเขาในเนปาล มีน้ำดื่มเป็นขวดๆ ขายค่ะ แต่ราคาค่อนข้างสูง น้ำดื่มขนาด 1 ลิตร ราคาประมาณ 55 – 100 บาท (เมื่อเทียบกับราคาในเมืองคือ 8 – 10 บาท) ซึ่งเทรคที่เนปาลเส้นที่สั้นที่สุด ก็ 3 – 4 วัน การจะซื้อน้ำดื่มนั้น นอกจากจะเสียทรัพย์ไปเยอะแล้ว ยังก่อให้เกิดขยะพลาสติกให้เกลื่อนบนเขาอีกด้วยนะคะ
7.2) ยาฆ่าเชื้อในน้ำก่อนดื่ม
ทั้งนี้ เราก็มีตัวช่วย คือ ยาฆ่าเชื้อในน้ำก่อนดื่ม ชนิดเม็ด (มีส่วนประกอบของคลอรีน) ซึ่งหาซื้อได้ที่ Kathmandu ค่ะ การใช้งานโดบทั่วไปก็ง่ายมาก คือ ใส่ยาฆ่าเชื้อ 1 เม็ด ลงในน้ำ 1 ลิตร รอ 30 นาที แล้วดื่มน้ำได้ค่ะ ในราคาที่ประหยัดมากมาย คือยาฆ่าเชื้อ 1 กล่องเล็ก (มี 50 เม็ด สำหรับน้ำ 50 ลิตร) ราคาประมาณ 35 – 40 บาท จึงจะแนะนำให้พกขวดน้ำเปล่าๆ ไปใส่น้ำเองค่ะ แนะนำให้พกอย่างน้อย 2 ขวด (ขนาดขวด อย่างน้อย 1 ลิตรนะคะ)

7.3) ที่กรองน้ำแบบพกพา
นักท่องเที่ยวบางท่านก็เลือกใช้ ที่กรองน้ำแบบพกพา ร่วมกับการใช้ ยาฆ่าเชื้อในน้ำก่อนดื่ม เพื่อความสบายใจในการกรองตะกอนต่างๆ
ทั้งนี้ หยกใช้ที่กรองน้ำแบบพกพา ยี่ห้อ Sawyer รุ่น Mini Sawyer เป็นแบบหมุนติดกับขวดน้ำ (ที่เป็นขวดที่มีเกลียวเฉพาะกับที่กรอง ที่กรองนี้ใช้ไม่ได้กับทุกขวดน้ำนะคะ) แล้วดื่มโดยตรงจากที่กรอง
ซึ่งปัจจุบันมี ที่กรองน้ำแบบพกพา ให้เลือกหลายแบบแลยค่ะ เช่น Lifestraw ราคาประมาณ 900 – 1,100 บาทค่ะ หรือ Mini Sawyer รุ่นที่หยกใช้งานอยู่ ราคาประมาณ 1,500 – 1,600 บาทค่ะ ซึ่งหยกซื้อออนไลน์ค่ะ ราคาถูกกว่า ตอนนั้นได้มาประมาณ 1,000 บาทค่ะ โดยหยกจะมองหาแบบที่เสียค่าส่งมาไทยถูกที่สุด หรือ รวมค่าส่งแล้ว ก็ยังถูกกว่าซื้อที่ไทยค่ะ
หากถามว่าที่กรองน้ำจำเป็นไหม?
ไม่จำเป็นค่ะ เพราะฆ่ายาเชื้อได้ฆ่าเชื้อในน้ำดื่มไปแล้ว เราสามารถดื่มน้ำได้โดยตรงหลังฆ่าเชื้อ เพียงแต่หยกมีอุปกรณ์ (ที่กรองน้ำ) อยู่แล้ว เลยใช้ให้ไม่เสียของที่มีโดยเปล่าประโยชน์ค่ะ ซึ่งนักท่องเที่ยวท่านอื่นๆ ส่วนใหญ่ และเพื่อนๆ หยกที่มาเทรคด้วยกัน ก็ไม่มีใครใช้ที่กรองน้ำนะคะ และ ก็ไม่มีใครมีปัญหาเรื่องท้องไส้เลยอีกด้วยค่ะ
มองหาทริปลุยๆ มันส์ๆ + ไกด์หญิงคนไทย ? เนปาล? ทาจิกิสถาน? คีร์กีซสถาน? จอร์แดน? ศรีลังกา?
หยกจัดทริปแล้วค่ะ ปี 2565 สนใจทริปไหน คลิ๊กอ่านเพิ่มเติมที่ภาพได้เลยค่ะ ไปผจญภัยกัน!
8. รายการสิ่งของที่แนะนำให้แบกเองระหว่างเทรค (ไม่ฝากไว้กับลูกหาบ)
ก่อนไปเทรคกิ้งเนปาล ก็ควรจะทราบว่า ของจำเป็นใดๆ ที่เราต้องพกติดตัวไว้ ไม่ฝากไว้กับลูกหาบ เมื่อถึงเวลาเทรคจริง ตอนจัดกระเป๋าจะได้จัดได้ถูกค่ะ
ระหว่างการเทรค หยกแนะนำให้สะพายกระเป๋าเป้แบ็คแพ็คใบพอดีๆ เพื่อพกน้ำดื่ม ให้เพียงพอทั้งวัน กรณีไม่มีที่เติมน้ำระหว่างทาง, ขนมเติมพลัง, ยาดม ยาอม ยาหม่อง, ของมีค่าต่างๆ (เช่น เงินสด, หนังสือเดินทาง), แบตเตอรี่กล้อง, ยาประจำตัว, ชุดปฐมพยาบาล, อุปกรณ์กันแดด และอุปกรณ์กันหนาวบางอย่างที่จำเป็น (เช่น ถุงมือ, หมวกไหมพรม และ เสื้อกันลม) เป็นต้น
ไม่เก็บของเหล่านี้ไว้กับลูกหาบนะคะ เพราะลูกหาบไม่ได้เดินไปพร้อมๆ กับเราเสมอไปค่ะ เค้าอาจเดินนำเราไปรอที่ที่พักแล้วก็เป็นได้ ทั้งลูกหาบเค้ายังเดินเร็วมากๆ อีกด้วยค่ะ ดังนั้น การจะเรียกหาลูกหาบระหว่างการเทรค เพื่อขอให้เปิดกระเป๋านั้นไม่ง่ายค่ะ ที่สำคัญคือ ลูกหาบเค้าได้แพ็คของเพื่อแบกอย่างดีแล้ว มีการรัดและมัดให้แน่น และปรับระดับ จัดแจงเพื่อแบกให้สบายเรียบร้อยแล้ว ดังนั้น การจะให้แก้มัดข้าวของเหล่านั้น จะแอบใจร้ายไปหน่อยค่ะ

9. Checklist รายการของที่ต้อง เตรียมตัวก่อนไปเทรค ที่เนปาล
หยกแยกหัวข้อนี้ไปอีกโพสต์นะคะ เรื่องนี้เป็นอีกเรื่องของการ เตรียมตัว เนปาล ที่สำคัญมากๆ นอกจากจะเป็นเรื่องที่คนมักสับสน งุนงง ทำให้เตรียมของกันไปไม่ครบ หรือ เตรียมของผิด เพราะมันมีรายละเอียดที่มากกว่า “แค่รายการของ” ที่หยกจะมาเล่าให้ฟัง กับ รายละเอียดที่เยอะ และแน่นไปด้วยข้อน่ารู้ รวมถึงทริคต่างๆ ที่ไม่ใช่ทุกคนจะทราบ และ ส่วนใหญ่คนที่ทราบและเข้าใจดี นั้น ทราบมาจากประสบการณ์ตรงของคนนั้นๆ ค่ะ รายละเอียดเต็มๆ ที่ ลิ้งค์นี้ เลยนะคะ
เป็นยังไงล่ะ การ เตรียมตัวก่อนไปเทรค ที่เนปาล และ ข้อควรรู้ก่อนไปเทรคกิ้ง ยาวมากใช่ไหมล่ะคะ ไม่ใช่! ข้อมูลครบถ้วนเลยใช่ไหมล่ะคะ ทีนี้เพื่อนๆ คงสามารถเตรียมของ ก่อนไปเทรคกิ้งเนปาล ได้เองอย่างง่าย สบาย พร้อม และ ครบถ้วน อย่างเป๊ะๆ แล้วสินะคะ
ทั้งนี้ หากเพื่อนๆ ท่านใดมีข้อสงสัย ตรงไหนไม่ชัดเจน ไม่เข้าใจ มีอะไรที่ไม่แน่ใจว่าควรเตรียมไปไหม หรือ อยากได้ประเด็นไหนเพิ่ม คอมเม้นต์มาที่ช่องคอมเม้นต์ที่ด้านล่างนี้ได้เลยค่ะ หยกรอตอบอยู่น้า และสำหรับเพื่อนๆ ท่านใดที่อยากร่วมทริปไปกับหยก หยกก็ยินดีมากๆ ค่ะ สามารถดูทริปเที่ยวได้ที่นี่เลยนะคะ แล้วทักหยกมาค่ะ สนุกแน่!
ขอคำแนะนำ แว่นกันแดดที่เหมาะกับการเทรคกิ้ง และกรณีมีสายตาสั้นร่วมด้วยค่ะ
สวัสดีค่ะ คุณฝน
ขอบคุณสำหรับคอมเม้นต์นะคะ 🙂
ปกติแล้วแว่นกันแดดสำหรับเทรคกิ้งบนเขาสูงจะใช้เลนส์ประเภท cat 3 และ 4 ค่ะ (แว่นสำหรับเทรคกิ้ง เดินป่า ปีนเขา จะมีระบุประเภทเลนส์ไว้ให้ทราบ) สายตาหยกปกติค่ะ กรณีมีสายตาสั้นร่วมด้วยนั้น หยกอาจจะให้คำแนะนำได้ไม่ดีนักนะคะ ทั้งนี้ อาจจะใส่คอนแทกเลนส์แบบรายวัน (รักษาความสะอาดให้ดีตอนใส่และถอด และ เตรียมน้ำยาล้างไปให้เกินพอ ถ้าไปที่เย็นมากๆ เก็บดีๆ ระวังกลายเป็นน้ำแข็งนะคะ) หรือ ปรึกษาคุณหมอขอตัดแว่นกันแดด polarized ที่เป็นแว่นสายตาร่วมด้วย
หวังว่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะคะ
hello
อยากไปเที่ยวเนปาลต้นเดือนตุลา คะ
ไม่ค่อยได้ออกกำลังกายมากน่ะค่ะ..มีเดินบ้างเป็นช่วงๆ
อยากจะลองเดินชมเขาบ้าง..
มีอันไหนแนะนำสำหรับมือใหม่มากกกก
หลังจากมีการไปเที่ยวเมืองอื่นๆไหมค่ะ
ทริป ซัก 8 วัน
สวัสดีค่ะ คุณ preeti
ขอบคุณสำหรับคอมเม้นต์นะคะ และ ต้องขออภัยที่ตอบล่าช้าค่ะ หยกพึ่งเทรคเส้นทางที่ 3 ที่ลาดักห์ เพื่อสำรวจเส้นทางเปิดทริปปีหน้า เสร็จค่ะ 🙂
ต้องขออภัยค่ะ ปลายเดือนกันยายนถึงต้นตุลาคมหยกติดทริปญี่ปุ่นค่ะ จากนั้น 13-31 ตุลาคม หยกติดนำทริปเทรคกิ้ง EBC 2 Passes Trek ค่ะ ทั้งนี้ มือใหม่สามารถมาเทรคกิ้งเนปาลเส้นทางง่ายๆ ถึง กลางๆ เช่น ABC Trek ได้นะคะ แต่จะต้องมีการเตรียมตัวออกกำลังกายมากหน่อยค่ะ จะได้เทรคอย่างสนุก และ ทรมานน้อยลงค่ะ เพราะการเทรคกิ้งเนปาล เป็นการเดินป่าที่เส้นทางเดินไม่ได้ราบเรียบ มีเดินบันไดชันบ้าง มีเดินขึ้นทางลาดทางชัน และ เดินตั้งแต่ 3 – 8 ชั่วโมงต่อวันค่ะ
ข้อมูลทริป ABC Trek (คลิกเพื่ออ่านข้อมูลเพิ่มเติม ทั้งโปรแกรมเส้นทางเดิน ความยากง่าย และ รายละเอียดอื่นๆ) และ นี่เป็นรีวิวเส้นทาง ABC Trek ค่ะ (คลิกเพื่อ่านรีวิว และ ชมภาพงามๆ ได้ค่ะ)
คุณ preeti สามารถแอดไลน์หยก LINE ID: sanooktiew มาพูดคุย สอบถามเพิ่มเติมได้นะคะ
จะซื้อรองเท้าได้ที่ไหนคะ
ต้องเป็นรองเท้าน้ำ เผื่อหิมะเกาะละลายด้วยใช่มั๊ยคะ
สวัสดีค่ะ คุณกรกช
ขอบคุณสำหรับคอมเม้นต์นะคะ 🙂
รองเท้าเดินป่าที่ขายในไทยมีไม่ค่อยหลากหลายค่ะ ส่วนใหญ๋จะหาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์เดินป่าทั่วๆ ไป เช่น Thailand Outdoor Shop หรือ ในห้าง เช่น Columbia, The North Face หรือ Tank Store เป็นต้น
หากต้องมีการเดินปกติทั่วไปบนพื้นที่ปกคลุมด้วยหิมะ ที่หิมะไม่ได้สูงนั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นรองเท้าแบบกันน้ำนะคะ แต่หากต้องเดินบนหิมะสูงๆ แบบเท้าจม เป็นระยะเวลานานๆ ถ้ารองเท้ากันน้ำได้จะดีค่ะ เพราะทำให้เท้าเราไม่เปียก ทั้งนี้ อาจต้องมี gaiter เพิ่มด้วยค่ะ