
มาทำเรื่องที่คนมักจะสับสน งงๆ จนเริ่มไม่ถูก และ ไม่แน่ใจ เตรียมของไปเนปาล สำหรับการเริ่มต้นด้วยตัวเอง ของการ เตรียมตัวไปเดินป่าเนปาล อย่าง “เตรียมอะไรไปเทรค” ให้เป็นเรื่องสุดง่ายกันเถอะค่ะ กับโพสต์นี้ พร้อม “รายการของที่ต้องเตรียมไปเทรคกิ้งเนปาล” ที่มาด้วยเหตุผล และ คำอธิบาย ว่าเตรียมสิ่งนั้นๆ ไปด้วยทำไม สำหรับการใช้ประโยชน์แบบไหน จากประสบการณ์ตรงของหยก กับของที่หยกพาไปเทรคด้วยทุกทริป ให้เพื่อนๆ ได้เข้าใจ และ นำไปประยุกต์ใช้ได้เอง ได้จริง กับทุกเส้นทาง จะได้ จัดกระเป๋าไปเทรคกิ้งเนปาล ได้ด้วยตนเองที่บ้าน อย่างครบถ้วน และ หมดความกังวลไปเลยว่า จะลืมเอาอะไรไปเทรคด้วยหรือเปล่าเนี่ย
เตรียมอะไรไปเทรค เตรียมของไปเนปาล เอาอะไรไปบ้าง? รู้ได้ยังไงว่าหนาวขนาดไหน? ไปเทรคเส้นนี้ ต้องเอาอุปกรณ์กันหนาวอะไรไปบ้างล่ะ? ไม่มีรองเท้าเทรคกิ้ง จำเป็นต้องซื้อไหม? ถ้าหารองเท้าไม่ได้ ทำยังไง? ถุงนอนไม่มี เช่าที่ไหน Kathmandu มีไหม? ไม้เท้าเดินป่าล่ะ จำเป็นหรือเปล่า? base layers คืออะไร? หาซื้อได้จากที่ไหน? กระเป๋าเป้ต้องเอาไปไหม? เอาไปกี่ใบ? ขนาดไหนดี? และ ข้อสงสัย + ความกังวล อีกมหาศาล มาไขข้อข้องใจกันที่ด้านล่างนี้เลยค่ะ
Table of contents
* โปรดประยุกต์ รายการของที่ต้องเตรียมไปเทรคกิ้งเนปาล เหล่านี้ ให้เหมาะสมกับสภาพอากาศของแต่ละเส้นทางที่เพื่อนๆ จะไปนะคะ *

สำหรับเพื่อนๆ ที่จะไปเทรคครั้งแรก ที่เป็นมือใหม่ หรือแม้กระทั่งมือเก่า ที่สับสน เตรียมของไม่เป็น ซื้อของไม่ถูก ที่อยากได้ที่ปรึกษาส่วนตัว ไกด์ส่วนตัว และ เพื่อนพาเที่ยวสนุกๆ ส่วนตัว ไปเที่ยวไปเทรคกับหยกได้นะคะ หยกมีจัด พาเที่ยวพาเทรค ด้วยค่ะ ทั้งยังมีมิตติ้ง มีแนะนำให้คำปรึกษา มีพูดคุยถามตอบ มีพาช้อปพาซื้อของ และ ต่างๆ นานาพิเศษๆ เฉพาะกับลูกทัวร์ผู้น่ารักเท่านั้น แบบที่ไม่มีทัวร์เค้าไหนทำกัน ทักหยกเข้ามาเลย
บทความข้อมูลเทรคกิ้งเนปาล
สำหรับเพื่อนๆ ที่อยากลองเทรค อยากเที่ยวแนวนี้ แต่เริ่มไม่ถูก ไม่รู้จะหาข้อมูลเกี่ยวกับการเทรคกิ้งทั้งหมดได้ที่ไหน หรือแม้แต่เพื่อนๆ ที่หลงใหลการเทรคกิ้งเนปาล ที่อยากได้ข้อมูลเทรคกิ้งเพิ่ม นี่เลยค่ะ ที่เดียวกับข้อมูลเต็มๆ
- ไฮกิ้ง เทรคกิ้ง คืออะไร? ต่างกันยังไง? พร้อมคำอธิบายที่แจ่มชัด และตัวอย่าง
- ข้อมูลเทรคกิ้งบนเส้นทาง Poon Hill
- ข้อมูลเทรคกิ้งบนเส้นทาง Langtang
- ข้อมูลเทรคกิ้งบนเส้นทาง Annapurna Circuit ที่รวม Tilicho Lake ทะเลสาบสีฟ้าสุดเข้ม และ สวยงามสุดๆ เข้าไว้ด้วย
- ข้อมูลเทรคกิ้งบนเส้นทาง Mohare + Khopra
- ข้อมูลเทรคกิ้งบนเส้นทาง Everest Base Camp (EBC) + Kalapatthar
- ไป Pokhara พักที่ไหนดี มีอะไรเที่ยว
- Checklist เตรียมอะไรไปเทรคกิ้ง ที่สามารถเตรียมเองได้ ไม่มีสิ่งนี้ ทำยังไง หาอะไรทดแทน หาซื้อที่ไหน เตรียมสิ่งนี้ไปทำไม ใช้ประโยชน์อะไร
- How to ขอวีซ่าเนปาล ตั้งแต่การเตรียมการณ์มาจากบ้าน เพื่อยื่นขอ Visa On Arrival ที่สนามบินตรีภูวัน
- ข้อมูลการเตรียมตัว ก่อนไปเทรคกิ้งเนปาล ให้พร้อมที่สุด ต้องเตรียมอะไร, เทรคเส้นไหน, ประกันบริษัทอะไรดี, ฉีดวัคซีนไหม, Permits อะไรบ้าง, น้ำดื่มล่ะ, ซิมการ์ดแพงไหม และ แลกเงินที่ไหน ฯลฯ
- AMS – อาการทั่วไป? อาการรุนแรง? เกิดกับใคร? ที่ไหน? ป้องกัน+หลีกเลี่ยงยังไง? ข้อควรปฏิบัติ? ถ้ามีอาการต้องทำยังไง? รักษาได้ไหม?
- ประกันเดินทางต่างประเทศ และ ประกันเดินทางที่ครอบคลุมเทรคกิ้งเนปาล บนเขาสูงไม่เกิน 4,500 m + ครอบคลุมทั่วโลก เช่น เนปาล, ยุโรป, อเมริกา & ประเทศอื่นๆ + ครอบคลุมค่ารักษาโควิด
- DOs & DON’Ts ระหว่างเทรคกิ้ง เนปาล ข้อควรรู้ อะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ – ใส่หูฟังฟังเพลง? ให้ขนมเด็กบนเขา? เดินลุยข้ามแม่น้ำ ต้องถอดรองเท้าเดินป่า? ต้องทำยังไงเพื่อไม่ให้เมื่อยกล้ามเนื้อ? ฯลฯ
เป็นยังไงละคะ เพื่อนๆ ได้ข้อมูลเกี่ยวกับการเทรคกิ้งที่ครบถ้วน ที่ละเอียด อ่านง่าย เข้าใจเองได้ และยังทำตามได้เองสบายๆ เลยใช่ไหมล่ะ หากมีข้อสงสัยใดๆ คอมเม้นต์ที่ช่องคอมเม้นต์ด้านล่าง เข้ามาได้เลยนะคะ หยกรอตอบแล้วค่ะ
1. อะไรคือ ของจำเป็น? อะไรคือ ของไม่จำเป็น?
เตรียมอะไรไปเทรค ก่อนอื่น ต้องทราบและทำความเข้าใจกันก่อนว่า การ จัดกระเป๋าไปเทรคกิ้งเนปาล นั้น เป็นการ เตรียมของไปเนปาล แบบจำกัด โดยเน้นเตรียมเฉพาะ “ของที่จำเป็นต้องใช้” ไปด้วยเท่านั้น เราอยู่บนเขา ทำกิจกรรมประเภทเดินป่า ในที่ทุรกันดาร ห่างไกลร้านค้า ร้านขายของ คลินิก หรือ โรงพยาบาล เราควรจะต้องเตรียมตัวให้พร้อม มีของที่ต้องใช้งานครบและพร้อม และ ไม่จำเป็นต้องพกของที่ไม่จำเป็น ของที่ไม่ต้องใช้ไปด้วย หรือ พวกของที่หากไม่มีก็ไม่เป็นไร และเราไม่จำเป็นต้องใช้ค่ะ

1.1). ของจำเป็น สำหรับการเทรคกิ้ง คืออะไร?
ง่ายๆ เลยค่ะ ของจำเป็น ที่ต้องใช้บนเขา ระหว่างเทรคกิ้ง ก็คือ ของที่จำเป็นต้องมี จำเป็นต้องใช้ ไม่มีไม่ได้ และ ยังหาซื้อบนเขาระหว่างเทรคกิ้งไม่ได้อีกด้วย เราจึงจำเป็นต้องเตรียมไปเองให้พร้อม ยกเว้น ประกัน และ ยา นะคะ 2 สิ่งนี้ถือเป็นของที่จำเป็นต้องมี แต่ไม่จำเป็นต้องใช้ค่ะ มา จัดกระเป๋าไปเทรคกิ้งเนปาล ให้มีแต่ของที่จำเป็นกันค่ะ
เช่น
- ชุดเดินป่า + นำมาเป็นชุดนอนด้วย ซักได้ ไม่ต้องเตรียมมาเยอะค่ะ เช่น
- เสื้อเดินป่า 3 ตัว (ใส่เดิน 1 ตัว, เปลี่ยนใส่หลังอาบน้ำ + นอน 1 ตัว และ สำรอง เพื่อขาดเพื่อหาย 1 ตัว)
- กางเกงขาสั้น 1 ตัว, ขายาวแบบบาง 2 ตัว (ใส่เดิน 1 ตัว และ เปลี่ยนใส่หลังอาบน้ำ + นอน 1 ตัว) และ ขายาวแบบหนา 1 ตัว
- อุปกรณ์กันหนาว เช่น เสื้อกันหนาวประเภทต่างๆ, หมวกไหมพรม, ถุงมือ, ถุงเท้า และ ถุงนอน เป็นต้น
- อุปกรณ์กันแดด เช่น แว่นกันแดด, หมวก, ครีมกันแดด, ลิปมันกันแดด, ผ้าบัฟ และ ปลอกแขน เป็นต้น
- ประกันการเดินทาง แบบที่ครอบคลุมกิจกรรมเทรคกิ้ง บนเขาสูง ในเนปาล
- ยาต่างๆ เช่น ยาสามัญประจำบ้าน, ยาประจำตัว (ถ้ามี), ชุดปฐมพยาบาล
- ขนมให้พลังงานสูง ให้พลังงานเร็ว เช่น granular bar, energy bar, พวกถั่วต่างๆ และ ลูกอม เป็นต้น
แนะนำเส้นทางเทรคกิ้งเนปาล เพื่อจะช่วยเลือกได้ว่าไปเทรคเส้นทางไหนดี
ในเขต Annapurna
- เส้นทางฮิต Poon Hill Trek ที่เลือกเทรคได้ตั้งแต่ 3 – 5 วัน
- Mardi Himal Trek ใช้เวลา 4 – 7 วัน
- เส้นทางน้องใหม่ ใกล้ Poon Hill กับ Mohare + Khopra Trek ใช้เวลา 9 – 10 วัน
- เส้นทางในฝันของใครหลายคน ความท้าทายของ Thorong La Pass 5416 m กับ Annapurna Circuit + Tilicho Lake Trek ใช้เวลา 14 – 20 วัน
ในเขต Everest หรือ Khumbu
- Everest Base Camp (EBC) + Kalapatthar Trek ใช้เวลา 10 – 17 วัน
ในเขต Langtang
- Langtang Trek ใช้เวลา 5 – 12 วัน
ในเขต Manaslu
- ฮาร์ทคอร์หน่อย ก็ต้องเขตหวงห้าม Manslu Circuit & Tsum Valley Trek ใช้เวลา 20 – 22 วัน มี Manaslu Base Camp ให้ได้เทรคด้วยค่ะ
1.2). ของไม่จำเป็น สำหรับการเทรคกิ้ง คืออะไร?
ของไม่จำเป็น ที่ไม่จำเป็นต้องใช้บนเขา ระหว่างเทรคกิ้ง ก็คือ ของที่ไม่มี ไม่ได้เตรียมไป หรือ ลืมเตรียมไป ก็ไม่มีผลกระทบใดๆ ต่อทริปเทรคกิ้งของเราค่ะ ซึ่งของเหล่านี้ ส่วนใหญ่จะแบกไป และ แบกกลับ หนักเปล่าๆ ไม่ได้ใช้งานใดๆ หรือ ของที่ใช้ก็ได้ ไม่ใช้ก็ได้ ซึ่งของไม่จำเป็นนี้ก็หมายถึง “สิ่งของทั้งหลายที่เรามักจะเตรียมไปเผื่อ” นั่นเองค่ะ
เช่น
- คอมพิวเตอร์ และ external hard drive เผื่อจะได้ทำงาน
- หยกเคยพกไป คิดว่าจะทำงาน ปรากฎว่า ไม่ได้แม้แต่จะแตะเลยค่ะ เน็ตบนเขาก็ไม่มี หรือ ถึงมีก็ช้าเต่า ทั้งไฟฟ้าก็มีจำกัด นี่ยังไม่นับว่าเดินจนเหนื่อย พอถึงที่พัก ก็ไม่อยากทำงงทำงานแล้วค่ะ
- พกหนังสือไป 3 – 4 เล่ม เผื่อเบื่อๆ จะได้สับเปลี่ยนเรื่องอ่าน
- กะจำนวนการอ่านของเราเอง ให้เหมาะกับจำนวนวันที่เราอยู่บนเขาค่ะ หากเทรคสั้นๆ เล่มเดียวก็น่าจะพอไหมคะ
- เตรียมเสื้อเดินป่าไปเผื่ออีก 3 ตัว (รวม 6 ตัว) เผื่อได้ใส่
- อย่าลืมนะคะว่าเราไปเทรคกิ้ง และใน 1 เวลา เราใส่เสื้อเดินป่า แค่ 1 ตัวเท่านั้นค่ะ คงไม่มีใครใส่ทับกัน 2 ตัวใช่ไหมคะ ดังนั้นแล้ว เราจะมีอีก 3 ตัวไปเผื่อทำไม? ทั้งๆ ที่เราเตรียมไปเพื่อความจำเป็นอยู่แล้ว 3 ตัว (ใส่เทรค, ใส่หลังอาบน้ำ + ใส่นอน และ สำรอง เพื่อขาดเพื่อหาย) อย่าลืมว่าเสื้อผ้าเหล่านี้ เราสามารถซักได้นะคะ

สำหรับคุณผู้หญิง
- เครื่องสำอางทุกชนิด
- หยกเคยพกแป้งฝุ่นกระปุก, ลิปมันสีๆ, ดินสอเขียนคิ้ว และ อายไลเนอร์ไปค่ะ คิดว่าจะได้ใช้ อยากถ่ายรูปสวยๆ หน้าตามีสีสันสักนิดบนเขา พอถึงหน้างานจริง แค่แพ็คกระเป๋า เก็บถุงนอนให้ทัน ทานอาหารเช้า เข้าห้องน้ำอีก ก็หมดเวลา ต้องรีบออกเดินแล้วค่ะ คือนอกจากจะไม่ได้ใช้แล้ว ขากลับ ของเสียหายไปเยอะเลยค่ะ เสียดายสุดๆ
- เครื่องประดับต่างๆ เช่น สร้อยคอ, กำไล, แหวน, ต่างหู, กระจกพกอันใหญ่ (ถ้าจะเอาไปด้วย แนะนำให้พกอันเล็กๆ) และ หวีแบบแปรงอันสวยๆ เป็นต้น ไม่ได้ใช้หรอกค่ะ พกมาหนักเปล่าๆ

2. รายการของที่ต้องเตรียมไปเทรคกิ้งเนปาล พร้อมคำอธิบายว่าเตรียมไปทำไม
หมายเหตุ:
รายการของที่ต้องเตรียมไปเทรคกิ้งเนปาล ด้านล่างนี้ เป็นของที่หยก เตรียมไปเทรค ด้วย สำหรับทุกเส้นทาง ในเนปาล นะคะ หากมีรายการของ ชิ้นไหน ที่หยกนำไปด้วยเป็นพิเศษ ในสถานการณ์พิเศษ (ไม่ปกติ) หยกจะใส่วงเล็บอธิบายให้ เช่น microspikes (หยกพกไป Mohare + Khopra Trek และ Mardi Himal Trek เพราะในช่วงที่ไปนั้น มีพายุเข้า อากาศแปรปรวน จึงมีหิมะปกคลุมเส้นทางค่ะ แล้วหยกรู้ได้ยังไง ว่าต้องเตรียมไป? เพราะ หยก ศึกษาข้อมูลทั่วไปของเส้นทางที่จะไป ก่อนเริ่มเทรค จาก คู่มือการเตรียมตัวก่อนไปเทรคกิ้งเนปาล ยังไงละคะ) ประมาณนี้นะคะ
รายละเอียดของรายการต่างๆ ด้านล่างนี้ จะประกอบไปด้วย
- รายการของ เตรียมอะไรไปเทรค ที่เป็นลิสต์ของอุปกรณ์เทรคกิ้งของหยก ที่หยกเตรียมไปด้วยทุกครั้ง เมื่อไปเทรคกิ้งที่เนปาลค่ะ (เฉพาะที่เนปาล หยกเทรคมาแล้ว 5 เส้นทาง 6 รอบ มีเทรคซำ้ 1 เส้นทางค่ะ)
- อุปกรณ์กันหนาว
- อุปกรณ์สำหรับการนอน
- อุปกรณ์เทรคกิ้งทั่วไป
- อุปกรณ์กันแดด
- ยาต่างๆ
- ของใช้ทั่วไป
- เหตุผลที่ต้องเตรียมของสิ่งนั้นๆ ไปเนปาล พร้อมแนะนำการใช้งาน
- ถ้าไม่มีของชิ้นนั้น ทำยังไง จำเป็นต้องซื้อไหม ถ้าไม่ สามารถใช้อะไรทดแทนได้
- ทริค ข้อควรรู้ และ คำแนะนำต่างๆ จากประสบการณ์ตรงของหยกเอง ที่เรียนรู้ข้อผิดพลาดต่างๆ มาด้วยตัวเองค่ะ
จัดกระเป๋าไปเทรคกิ้งเนปาล ทั้งที นอกจากจะต้องทราบ รายการของที่ต้องเตรียมไปเทรคกิ้งเนปาล และ เตรียมอะไรไปเทรค แล้ว ยังต้องทราบเหตุผลของที่ต้องเตรียมไปด้วยสินะคะ จะได้ทราบว่า เตรียมของสิ่งนี้ไปเนปาลทำไม และ ใช้ประโยชน์ยังไง จริงไหมเอ่ย ไปดูกันเลยค่ะ
* ลิสต์ที่ต้องเตรียมไปเทรคกิ้งเนปาล เหล่านี้ เป็นเพียงแนวทาง และ คำแนะนำในการเตรียมตัวเท่านั้น โปรดประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับแต่ละเส้นทาง และ คำนึงถึงน้ำหนัก ในการ จัดกระเป๋าไปเทรคกิ้งเนปาล ด้วยนะคะ *
มองหาทริปลุยๆ มันส์ๆ + ไกด์หญิงคนไทย ? เนปาล? ทาจิกิสถาน? คีร์กีซสถาน? จอร์แดน? ศรีลังกา?
หยกจัดทริปแล้วค่ะ ปี 2565 สนใจทริปไหน คลิ๊กอ่านเพิ่มเติมที่ภาพได้เลยค่ะ ไปผจญภัยกัน!
1). เตรียมอะไรไปเทรค กับ อุปกรณ์กันหนาว
- เสื้อ และ กางเกง base layers อย่างละ 1 ตัว หรือที่รู้จักกันว่า ลองจอน หรือ ฮีทเทค
คือเสื้อและกางเกงตัวรัดๆ ใส่แนบชิดติดเนื้อ โดยเราจะใส่เป็นชั้นในสุดเลยค่ะ แนะนำชนิดที่ทำจาก merino wool (ขนแกะชนิดหนึ่ง) นะคะ
* ขนแกะ merino wool มีคุณสมบัติให้ความอบอุ่นได้ดีมาก แม้กระทั่งตอนเปียก ทั้งยังมีน้ำหนักเบา ระบายอากาศได้ดี ไม่เหม็นอับ และ แห้งเร็วมากๆ *
หากไม่มี และ ไม่คิดว่าจะได้ใช้ประโยชน์ สำหรับทริปอื่นๆ ไม่จำเป็นต้องซื้อนะคะ (เพราะ base layer ที่ทำจาก merino wool นั้น มีราคาที่สูง ตกชิ้นละประมาณ 2 พันปลายๆ บาทค่ะ) สามารถใช้เป็น พวกฮีทเทค หรือ ลองจอน แทนได้ค่ะ ราคาเป็นมิตรขึ้นมามากหน่อย
แต่หากเป็นคนขี้หนาว ไปเที่ยวที่ๆ อากาศหนาวๆ บ่อย และ มีงบหน่อย ก็แนะนำให้ซื้อค่ะ base layers ที่ทำจาก merino wool ถึงแม้จะมีราคาแพง แต่เป็นของที่ลงทุนแล้ว คุ้มค่ามากๆ ค่ะ ทุกบาททุกสตางค์เลย เพราะใช้ได้กับทุกทริปที่เจออากาศหนาว (ไม่จำเป็นต้องเที่ยวแบบเทรคกิ้งบนเขา) และใช้ได้เป็นสิบปีเลยด้วยค่ะ ซึ่ง merino wool base layers นี้ เป็นของที่หยกต้อง จัดกระเป๋าไปเทรคกิ้งเนปาล ด้วยตลอดๆ ค่ะ

- แนะนำวิธีการซัก และ การดูแล เพื่อถนอมไว้ให้ใช้ได้นานๆ เป็นสิบปีอย่างที่บอกค่ะ
- ซักมือเท่านั้น อย่าลงเครื่องเด็ดขาด
- ห้ามรีดนะคะ เพราะมันเป็นขนสัตว์ค่ะ
- ตอนใส่กางเกง ถ้าไม่ได้ใส่อะไรข้างนอกอีกชั้น แนะนำให้ตรวจสอบพื้นผิวที่นั่งบน teahouse ให้ดี เพราะที่นั่งส่วนใหญ่เป็นไม้ พื้นผิวไม่เรียบ มีการปูพรม แต่พรมอาจมีการเลื่อนหลุด เพื่อหลีกเลี่ยงการทำเกาะเกี่ยวของเนื้อผ้า หลีกเลี่ยงการทำกางเกงหลุดรุ่ย เป็นรู
แล้วหาซื้อ base layers ที่ทำจาก merino wool ได้ที่ไหน?
จะบอกว่าหาซื้อในไทยยากมากๆ ค่ะ หยกแนะนำให้สั่งออนไลน์ค่ะ มักจะได้ราคาที่ถูกกว่าที่ช้อปนะคะ แนะนำให้เลือกแบบที่คิดค่าส่งมาไทยไม่แพง ทั้งเสื้อและกางเกงของหยก หยกได้มาตอนไปเที่ยวเมืองนอก แล้วเจอลดราคา เลยได้มีโอกาสสอยมาค่ะ หากเพื่อนๆ สนใจ ดูออนไลน์ได้ลิ้งค์ต่อไปนี้ได้เลยค่ะ ช้อปปิ้งสนุกแน่ค่ะ
- คุณผู้หญิง: เสื้อ base layer ที่ทำจาก merino wool
- คอกลม สีพื้นแจ่มๆ สวยมากๆ ถ่ายรูปขึ้นสุดๆ ใส่เดินป่าแล้วไม่หลง ไม่หายแน่ค่ะ มองเห็นกันแต่ไกลๆ เลย
- แบบที่หยกใช้อยู่ แบบมีซิป คอมีปก สีพื้น สีแจ่มๆ สวยมากๆ ถ่ายรูปขึ้นสุดๆ ใส่เดินป่าแล้วไม่หลง ไม่หายแน่ค่ะ มองเห็นกันแต่ไกลๆ เลย ในส่วนของหยกนั้นก็เลือกสีชมพูแป๊ดๆ เลยค่ะ
- แบบมีซิป คอมีปก ลวดลายเก๋ๆ ใครไม่ชอบสีพื้นต้องนี่ ลายสวยๆ เก๋ๆ ฮิพสุดๆ
- คุณผู้หญิง: กางเกง base layer ที่ทำจาก merino wool
- แบบที่หยกใช้อยู่ กางเกงแบบสีดำ สีพื้นแจ่มๆ หรือ สีเรียบๆ ก็มีนะคะ
- กางเกงดีไซน์เก๋ๆ แพทเทินสวยๆ ก็มีนะคะ สายแฟชั่นต้องไม่พลาด หากเห็นลายนี้ หยกซื้อไปแล้ววว
- คุณผู้ชาย: merino wool base layers อย่าน้อยใจไปนะคะ ที่ลวดลายและสีสันไม่หลากหลายเหมือนของสาวๆ
- เสื้อกันหนาวฟลีซ (fleece) หรือ เสื้อกันลม เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง
ส่วนใหญ่หยกจะเลือก เสื้อกันหนาวฟลีซ ค่ะ เพราะทุกเส้นทางเทรคกิ้งที่หยกไป หยกจะเตรียม เสื้อกันฝน ไปด้วยตลอดทุกทริปอยู่แล้วค่ะ ซึ่ง เสื้อกันฝน สามารถทำหน้าที่ทดแทน เสื้อกันลม ได้ค่ะ อีกทั้ง ที่ไม่พกไปทั้งสองชนิด เพราะหนักค่ะ และยังไงก็ใส่แค่ตัวเดียว แล้วใส่ down jacket ทับอยู่ดี
แต่ถ้าทริปที่หยกต้องแบกกระเป๋าเอง หยกจะไปดูสภาพอากาศ หากไม่หนาวมากเท่าไหร่ จะไม่พกไปเลยค่ะ ลดของไปได้ 1 ชิ้นถ้วน จะได้ไม่ต้องแบกของหนักค่ะ แต่หาก ระหว่างทริปแล้วบังเอิญต้องใช้ หยกจะใช้เสื้อกันฝน(ที่หยกพกไปด้วยอยู่แล้ว)แทนค่ะ แต่หากตรวจสอบสภาพอากาศแล้วหนาวมากๆ หยกก็จะ เอา เสื้อกันลม ไปค่ะ เพราะเสื้อกันหนาวฟลีซ นั้น มีน้ำหนักที่หนักกว่า ทั้งยังมีขนาดใหญ่ กินพื้นที่ในกระเป๋ามากค่ะ
สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์เทรคกิ้งของชาวพื้นเมืองในย่าน Thamel ที่ Kathmandu โดยมีให้เลือกมากมาย ในราคาที่ไม่แพงด้วยนะคะ

- เสื้อกันหนาวขนเป็ด หรือ ขนห่าน (down jacket) หรือ ผสมขนสังเคราะห์ ก็ได้ค่ะ
ขนเป็ดและขนห่านจะมีน้ำหนักเบามากๆ และให้ความอบอุ่นได้ดีสุดๆ ถึงแม้จะใส่แล้วดูอ้วนก็ตาม ทั้งนี้ แบบขนสังเคราะห์ หรือ ผสมขนสังเคราะห์ นั้น จะให้ความอบอุ่นที่ไม่ดีเท่านะคะ
ถ้าไม่มี สามารถหาซื้อแบบถูกๆ หนาๆ แบบที่เป็นขนผสม หรือ ขนสังเคราะห์ ใช้ไปก่อนก็ได้ค่ะ หาได้ตามร้านขายอุปกรณ์เทรคกิ้งของชาวพื้นเมืองในย่าน Thamel ที่ Kathmandu โดยมีของให้เลือกเยอะแยะเลยค่ะ
- แนะนำวิธีการดูแล เพื่อถนอมของแพงๆ ไว้ให้ใช้ได้นานๆ สำหรับ down jacket ขนเป็ด หรือ ขนห่าน แท้
- ห้ามซักเครื่อง ห้ามซักมือ ห้ามเปียกน้ำ
- หากเปื้อน ให้เอาผ้าชุบน้ำเช็ดออกทันที
- หลังใช้งาน ให้เอามาแขวนตากแดด ก่อนเก็บ
- การเก็บ เมื่อไม่ได้ใช้งาน ห้ามพับ ห้ามม้วน แต่ให้เอามาแขวนไว้ เพื่อให้ขนสัตว์นั้นมีความฟูตลอด และคงคุณสมบัติได้เต็มร้อย
- ถุงมือ
หยกมี 2 คู่ค่ะ แบบบาง กับ แบบหนา โดยที่บางเส้นทาง หยกจะพกไปแค่แบบบาง บางเส้นทางจะพกไปทั้งสองแบบ ขึ้นกับสภาพอากาศและความสูงของเส้นทางนั้นๆ ที่จะไปเทรคค่ะ
- หมวกไหมพรม (beanie)
หยกใช้หมวกไหมพรม ที่ทำจาก merino wool ค่ะ น้ำหนักเบา อบอุ่น แห้งเร็ว โปร่งลม ไม่อับ ไม่เก็บกลิ่นเหงื่อ แต่หากเพื่อนๆ มีหมวกไหมพรม ที่ทำจากไหมพรม ก็ใช้แทนได้นะคะ ไม่จำเป็นต้องซื้อค่ะ
* ทั้งนี้ แต่ละบุคคลมีความสามารถในการทนต่อความหนาวที่แตกต่างกันนะคะ การ เตรียมของไปเนปาล ก็เลยต่างกัน โปรดประยุกต์ รายการของที่ต้องเตรียมไปเทรคกิ้งเนปาล ใช้ให้เหมาะกับตัวเพื่อนๆ เอง ว่ามีความขี้หนาวขี้ร้อนขนาดไหนนะคะ
2). เตรียมอะไรไปเทรค กับ อุปกรณ์สำหรับการนอน
- ถุงนอน (แนะนำแบบขนเป็ด หรือ ขนห่าน แท้)
ถุงนอน เป็นของต้องมีค่ะ ไม่จำเป็นต้องซื้อนะคะ สามารถเช่าได้ ตามร้านขายอุปกรณ์เทรคกิ้งของชาวพื้นเมืองในย่าน Thamel ที่ Kathmandu ค่ะ ในราคาที่ไม่แพง
แนะนำวิธีการดูแล ถุงนอน ที่ทำจาก ขนเป็ด หรือ ขนห่าน แท้ นั้นเหมือน down jacket เลยนะคะ
- Sleeping liner (ถุงผ้ารองนอน)
แนะนำให้ซื้อค่ะ ยิ่งกรณีเช่าถุงนอน จะช่วยให้นอนสบายขึ้น มีหน้าที่คล้ายๆ ผ้าปูเตียงค่ะ ราคา 5xx – 3,xxx บาท ขึ้นกับชนิดของวัสดุ (โพลีเอสเตอร์ และ ค๊อตตอน จะถูกกว่า ผ้าไหม) หาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์ท่องเที่ยวในไทย และ Kathmandu
ของหยกใช้ค๊อตตอนค่ะ ซื้อมาเมื่อนานมาแล้วค่ะ ซึ่งตอนนั้น ประสบการณ์น้อย ยังไม่ทราบว่าควรใช้วัสดุอะไรดี หรือ ต้อง เตรียมอะไรไปเทรค ด้วย ไม่เช่นนั้น คงจะซื้อที่ทำจาก โพลีเอสเตอร์ ค่ะ เพียงแต่หยกมี ถุงรองนอน แล้ว ยังใช้งานได้ดี เลยไม่จำเป็นต้องซื้อใหม่ค่ะ เก็บตังค์ไปซื้ออุปกรณ์เทรคกิ้งอย่างอื่นที่ขาดดีกว่าค่ะ

3). เตรียมอะไรไปเทรค กับ อุปกรณ์เทรคกิ้งทั่วไป
- เสื้อเดินป่า ทำจากโพลีเอสเทอร์ 3 ตัว
รายการของที่ต้องเตรียมไปเทรคกิ้งเนปาล อย่างแรกสุด ก็คือ เสื้อเดินป่าค่ะ แต่หากไม่มี ก็ไม่จำเป็นต้องซื้อนะคะ สามารถใส่เสื้อกีฬาที่มีอยู่แล้วได้ค่ะ หรือ หากต้องการซื้อ ก็สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์เทรคกิ้งของชาวพื้นเมืองในย่าน Thamel ที่ Kathmandu มีขายเยอะแยะไปค่ะ ในราคาที่ไม่แพง หลักร้อยต้นๆ เท่านั้นเอง
- กางเดินป่า ทำจากโพลีเอสเทอร์ ขาสั้น 1 ตัว, ขายาว แบบบาง 1 ตัว และ ขายาวแบบหนา 1 ตัว
หากเทรคแค่ไม่กี่วันและไม่ได้เทรคขึ้นที่สูงเกิน 3,000 เมตร สามารถใส่กางเกงกีฬาที่มีอยู่แล้วได้ค่ะ แต่หากอยากมีไว้สักตัว ก็ได้ค่ะ ที่ Kathmandu มีขาย ในราคาไม่แพง

แต่หากต้องขึ้นที่สูงกว่า 3,000 เมตร แนะนำให้ซื้อแบบบางไว้สักตัวค่ะ และหากต้องขึ้นที่สูงกว่า 3,500 เมตรขึ้นไปด้วย ก็แนะนำให้มีแบบหนาไว้อีกตัวค่ะ ซึ่งตามร้านขายอุปกรณ์เทรคกิ้งของชาวพื้นเมืองในย่าน Thamel ที่ Kathmandu มีขายค่ะ ในราคาที่ไม่แพง หลักร้อยต้นๆ – กลางๆ เท่านั้นเอง
* โพลีเอสเทอร์ มีคุณสมบัติ โปร่งลม ระบายอากาศดี แห้งง่าย ไม่เก็บกลิ่น และ เหมาะกับกิจกรรมกลางแจ้ง *

- ถุงเท้าเดินป่า และ ใส่นอน
จัดกระเป๋าไปเทรคกิ้งเนปาล หยกมักจะพก ถุงเท้าแบบหนา 3 คู่ ไว้ใส่เดิน, ใส่หลังอาบน้ำ และ ใส่นอน อย่างละคู่ค่ะ แนะนำชนิดที่ทำจาก merino wool นะคะ หากไม่มีที่ทำจาก merino wool ก็สามารถใช้ถุงเท้าแบบหนาๆ แทนได้นะคะ เลือกแบบนุ่มๆ หน่อย แนะนำให้พกไปอย่างน้อย 3 คู่ค่ะ
* เนื่องจากขนแกะ merino wool มีคุณสมบัติ โปร่งลม ระบายอากาศ ไม่เหม็นอับ แห้งเร็ว ลดความเหม็นจากเหงื่อและการใส่ซ้ำ ทั้งยังให้ความอบอุ่นได้ดี แม้กระทั่งตอนเปียก ทั้งขนแกะนั้นนุ่มมากๆ ช่วยลดการเสียดสี ลดความเสี่ยงการเกิดตุ่มน้ำใส หลีกเลี่ยงการเกิดรองเท้ากัด จึงเหมาะกับการเทรคกิ้งสุดๆ เลยค่ะ *
ทั้งนี้ สำหรับเพื่อนๆ ที่ชอบกิจกรรมการเทรคกิ้ง และ ชอบเที่ยวที่หนาวๆ แนะนำให้ซื้อ ถุงเท้า ที่ทำจาก merino wool ไว้ สัก 1 คู่นะคะ รับรองว่าชีวิตเปลี่ยนเลยค่ะ คู่ละประมาณ เริ่มต้นที่พันปลายๆ ค่ะ

- กระเป๋าเป้แบ็คแพ็ค
กระเป๋าเป้แบ็คแพ็ค (อ่านรายละเอียด วิธีการเลือกแบบ เลือกขนาด และ ลอง กระเป๋าเป้แบ็คแพ็ค ที่เหมาะกับคุณ ที่ละเอียดมากขึ้น ได้ที่ลิ้งค์นี้เลยนะคะ) สำหรับใช้เดินเทรค และ ใส่ของใช้ส่วนตัวระหว่างการเดินเทรคค่ะ
- รองเท้าเดินป่า หรือ รองเท้าผ้าใบ
หากไม่มีรองเท้าเดินป่า (อ่านรายละเอียด วิธีการเลือกไซส์ และ ลองรองเท้าเดินป่า ที่ละเอียดมากขึ้น ได้ที่ลิ้งค์นี้เลยนะคะ) และจะไปเทรคครั้งแรก กับเทรคสั้นๆ ที่ไม่ต้องเจอหิมะ แนะนำให้ใช้รองเท้าผ้าใบคู่ที่มีอยู่แล้วแทนได้ค่ะ ยังไม่จำเป็นต้องซื้อรองเท้าเดินป่านะคะ

- เสื้อกันฝน (rain jacket)
เสื้อกันฝน เป็นของที่หยกพกไปเทรค และ ไปเที่ยวทุกที่ด้วยตลอดๆ ค่ะ มีประโยชน์มาก นอกจากจะไว้ใส่กรณีฝนตก ลูกเห็บตก หรือ หิมะตก เพื่อกันเปียกแล้ว (ซึ่งจะช่วยให้เสื้อผ้าข้างในเราไม่เปียก ทำให้ร่างกายยังคงมีความอุ่นค่ะ) ยังเอาไว้ใส่ตอนลมแรงๆ กรณีที่ไม่มีเสื้อกันลมด้วยก็ได้นะคะ
ส่วนตัวหยกนั้น มีทั้งเสื้อและกางเกงกันฝนเลยค่ะ
- Microspikes (เตรียมไปเป็นกรณีพิเศษ)
ปกติไม่ต้องใช้ค่ะ แต่หากต้องเดินบนเทรลที่มีหิมะปกคลุม เช่น หยกพกไป Mohare + Khopra Trek และ Mardi Himal Trek เพราะในช่วงที่ไปนั้น มีพายุเข้า อากาศแปรปรวน จึงมีหิมะปกคลุมเกือบตลอดเส้นทางค่ะ
สามารถ ซื้อ หรือ เช่า ได้ที่ Kathmandu ในราคาที่ไม่แพง ตามร้านขายอุปกรณ์เทรคกิ้งของชาวพื้นเมืองในย่าน Thamel ค่ะ

- ขนมให้พลังงานสูง ไว้เติมพลังระหว่างเทรค
อีก รายการของที่ต้องเตรียมไปเทรคกิ้งเนปาล ที่จำเป็น แนะนำเป็นขนมประเภทที่ให้พลังงานสูง และ ให้พลังงานเร็ว เช่น energy bars, granolar bars, snickers, ถั่วต่างๆ, ผลไม้แห้ง, ช็อคโกแลต, ลูกอม หรือ เยลลี่แบร์ เป็นต้น (สามารถซื้อที่ Kathmandu ได้ค่ะ แต่หากใครมีของชอบเฉพาะที่ต้องการซื้อมาจากไทย ที่คิดว่าหาไม่ได้ในเนปาล ก็เตรียมมาด้วยได้เลยนะคะ เช่น มะม่วงอบแห้ง หรือ บ๊วยเค็ม เป็นต้น)
แล้วถ้าจะพกขนมที่ให้พลังงานนิดเดียวไปได้ไหม? ก็ชอบน่ะ ขนมพวกให้พลังงานสูงๆ ไม่อร่อย ไม่ชอบ
ได้ค่ะ ขึ้นกับแต่ละบุคคลเลย อย่างหยกนี่ กองทัพต้องเดินด้วยท้อง ใช้พลังงานเยอะ ก็จะกินเยอะ ยิ่งตอนเทรคนี่หิวบ่อยมาก และการที่หยกพกพวกขนมที่ให้พลังงานสูง ก็เพื่อที่จะได้พกไปไม่เยอะ ไม่ต้องแบกหนัก และอยู่ท้องค่ะ เติมพลังงานทีนึง แล้วอยู่ได้นานเลย

- ไม้เท้าเดินป่า
ถามว่า ไม้เท้าเดินป่า (อ่านรายละเอียด วิธีการเลือก และ วิธีการใช้ ไม้เท้าเดินป่า ที่ละเอียดมากขึ้น ได้ที่ลิ้งค์นี้เลยนะคะ) จำเป็นไหม สำหรับคนที่เคยใช้มาก่อน จะตอบว่าจำเป็นมากๆ ค่ะ นอกจากจะช่วยให้การเดินคล่องขึ้น ง่ายขึ้น แล้ว ยังช่วยลดแรงกระแทกของเข่าได้ด้วย แต่หากพึ่งเคยเทรค หรือ ยังไม่เคยใช้ ก็ไม่จำเป็นต้องซื้อนะคะ แต่สามารถเช่าได้ที่ Kathmandu เพื่อลองใช้ดูก่อนได้ค่ะ หรือ ใครจะซื้อแบบถูกๆ แบบใช้แล้วทิ้งที่ Kathmandu มีขายเช่นกันค่ะ
แต่หากเพื่อนๆ ที่ต้องการซื้อของดีๆ ทนๆ ใช้ไปนานๆ แนะนำให้ดูของจริงที่ช้อป ลองใช้ ลองจับ ลองแบบที่ชอบที่ถูกใจ แล้วค่อย ซื้อไม้เท้าเดินป่าออนไลน์ (อันนี้คือรุ่นที่หยกใช้อยู่ค่ะ) ราคามักจะถูกกว่าซื้อที่ช้อปเยอะเลย แนะนำให้เลือกแบบที่ส่งมาไทยในราคาไม่แพงนะคะ
สามารถเช่าได้ที่ Kathmandu ในราคาที่ไม่แพง ตามร้านขายอุปกรณ์เทรคกิ้งของชาวพื้นเมืองในย่าน Thamel ค่ะ
- ไฟฉายคาดศีรษะ (headlamp)
ไฟฉายคาดศีรษะ (รุ่นที่หยกใช้ค่ะ สีแดง นะคะ) เอาไว้สำหรับใช้เวลาไปเข้าห้องน้ำยามค่ำคืน ใช้ทั่วไปในที่พักบนที่สูงๆ ในห้องอาหาร เพราะอาจไม่มีไฟฟ้าค่ะ, ในการเดินขึ้นไปชมพระอาทิตย์ขึ้นในเวลาเช้ามืด และ ในกรณีฉุกเฉิน เช่น มืดแล้ว แต่มีเหตุให้ยังเดินไม่ถึงที่พัก เป็นต้น

- Dry bag หรือ ถุงกันเปียก
สำหรับเพื่อนๆ ที่จะไปเทรคในเขตที่อาจมีฝนตก ลูกเห็บตก หรือ มีหิมะตก แนะนำให้พก dry bag ไปด้วยค่ะ มีประโยชน์หลายด้านมากๆ แบบที่คาดกันไม่ถึงเลยทีเดียว อีกทั้ง ยังช่วยจัดระเบียบกระเป๋าได้อย่างดี ทำให้การต้องรื้อหาของ และ แพ็คของใหม่ทุกวัน ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป ไม่เชื่อเหรอคะนี่ค่ะ หยกทำลิสต์ประโยชน์ของ dry bag มาให้อ่านกัน
- ประโยชน์ของ dry bag
- เอาไว้ใส่ของ เพื่อป้องกันข้าวของในกระเป๋าเปียก ทั้งในกระเป๋าเป้ที่เราแบกเอง หรือ สำหรับข้าวของที่ใส่ลงใน duffle bag ที่ให้ลูกหาบแบกค่ะ
- เพื่อกันฝน กันตกน้ำ หรือ กันเหงื่อซึมเข้าข้าวของเรา โดยเฉพาะสิ่งสำคัญๆ เช่น พวกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ, หนังสือเดินทาง, ถุงนอนที่ทำจากขนเป็ด และ เสื้อผ้าเสื้อกันหนาวที่มีจำกัด เป็นต้น
- ที่หากฝนตกแล้วเราเปียก พอถึงที่พัก เราก็สามารถเปลี่ยนใส่เสื้อผ้าที่แห้งที่เก็บไว้ใน dry bag ได้ทันที
- ช่วยในการจัดสัดส่วนของพื้นที่กระเป๋า ได้อย่างเป็นระเบียบที่สุด
- หลังจากใส่ของเรียบร้อยแล้ว ต้องไล่เอาลมออกให้หมด ก่อนปิดถุงนะคะ ครั้งแรกๆ อาจไล่ลมออกไม่ได้หมด ลองๆ ทำไปค่ะ เดี๋ยวก็เริ่มชำนาญ แล้วจะไล่ลมออกได้เกลี้ยงสุดๆ จนนึกว่าเป็นถุงสุญญากาศเลยค่ะ (ตามรูปด้านล่างที่หยกไล่ลมออกได้อย่างสวยงาม)
- เอาไว้ใส่ของ เพื่อป้องกันข้าวของในกระเป๋าเปียก ทั้งในกระเป๋าเป้ที่เราแบกเอง หรือ สำหรับข้าวของที่ใส่ลงใน duffle bag ที่ให้ลูกหาบแบกค่ะ
นี่คือการจัดการ จัดกระเป๋าไปเทรคกิ้งเนปาล ที่เอาให้ลูกหาบแบกของหยกค่ะ หยกมี dry bag 3 ขนาดค่ะ คือ 13L, 20L และ 35L ค่ะ โดยหยกจะแบ่งของเป็นสัดเป็นส่วน ง่ายต่อการหยิบใช้ และ ง่ายต่อการเก็บ การแพ็คลงกระเป๋าในตอนเช้าค่ะ
- dry bag กับ การ จัดกระเป๋าไปเทรคกิ้งเนปาล ของหยก
- ใบใหญ่สุด ไว้ใส่ถุงนอน และ ถุงรองนอน
- ใบกลาง ไว้ใส่ อุปกรณ์กันหนาวต่างๆ ที่จะได้ใช้เฉพาะบนที่สูงที่มีอากาศหนาวๆ ค่ะ จะได้ไม่ต้องรื้อของบ่อยๆ
- ใบเล็กสุด เอาไว้ใส่เสื้อเดินป่า กางเกงเดินป่า ถุงเท้าเดินป่า ชั้นใน ของทั่วไปที่จะได้ใช้ทุกวัน
- ใบเล็กสุดอีกใบ ใส่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ
แนะนำให้เลือก dry bag แบบที่มีน้ำหนักเบานะคะ ไม่ใช่แบบที่ไว้ในดำน้ำ ที่ทั้งหนาและหนักค่ะ

- ขวดน้ำ
แนะนำให้พกไป 2 ขวด ขวดละอย่างน้อย 1 ลิตร (เมื่อก่อน หยกพกขวดละ 1.5 ลิตร 2 ขวด ซึ่งเป็นขวดพลาสติกธรรมดาที่ขายตามร้านค้าทั่วไปค่ะ, ซึ่งตอนนี้ หยกพกขวดพลาสติก 1.5 ลิตร 1 ขวด และ ขวดน้ำ 1 ลิตร 2 ขวดค่ะ)
ไม่จำเป็นต้องซื้อขวดน้ำใหม่นะคะ หากไม่ได้มีจุดประสงค์จะใช้หลังจากจบทริปค่ะ เปลืองเงินเปล่าๆ ค่ะ สามารถใช้ขวดน้ำพลาสติก ที่มีขายตามร้านค้าทั่วไปได้ค่ะ แนะนำให้เลือกแบบที่หนาๆ หน่อยนะคะ จะได้ทนทาน ใช้ได้นานๆ จนจบทริป เช่น ขวดน้ำอัดลม ค่ะ มีความหนาและทนทานมาก จึงใช้ซ้ำได้หลายวันจนจบทริป
ขยะพลาสติกบนเขาในเนปาล ยังคงเป็นปัญหาใหญ่ มาช่วยกัน “ไม่สร้างขยะเพิ่ม” ด้วยการซื้อน้ำดื่มเป็นขวดๆ ดื่มบนเขากันนะคะ หันมาพกขวดน้ำ ใช้เติมน้ำ เพื่อดื่มแทนนะคะ
- Water purification solution หรือ water purification tablets
ยาฆ่าเชื้อในน้ำก่อนดื่ม ซึ่งมีทั้งแบบน้ำ และ แบบเม็ด เพื่อทำการฆ่าเชื้อในน้ำก่อนดื่ม (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ที่ ข้อ 7.2 ยาฆ่าเชื้อในน้ำก่อนดื่ม ใน คู่มือการเตรียมตัวก่อนไปเทรคกิ้งเนปาล นะคะ) หยกใช้แบบเม็ดค่ะ พกง่าย รักษาง่าย และใช้ง่ายกว่าแบบน้ำ สามารถหาซื้อได้ในย่าน Thamel ที่ Kathmandu นะคะ
หมายเหตุ:
น้ำดื่มบนเขา เป็นน้ำที่มาจากการละลายของธารน้ำแข็ง และ ใสมากค่ะ นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ใช้วิธีใส่ยาฆ่าเชื้อสำหรับน้ำดื่ม ก่อนดื่มค่ะ

- ที่กรองน้ำแบบพกพา
ที่กรองน้ำแบบพกพา เป็น รายการของที่ต้องเตรียมไปเทรคกิ้งเนปาล ที่ไม่จำเป็น หากมีฆ่ายาเชื้อที่เราใช้ ได้ฆ่าเชื้อในน้ำดื่มไปแล้ว เราสามารถดื่มน้ำได้โดยตรงหลังฆ่าเชื้อเลยค่ะ เพียงแต่หยกมีอุปกรณ์ (ที่กรองน้ำ) อยู่แล้ว เลยใช้ให้ไม่เสียของที่มีโดยเปล่าประโยชน์ค่ะ ซึ่งนักท่องเที่ยวท่านอื่นๆ ส่วนใหญ่ และเพื่อนๆ หยกที่มาเทรคด้วยกัน ก็ไม่มีใครใช้ที่กรองน้ำนะคะ และ ก็ไม่มีใครมีปัญหาเรื่องท้องไส้เลยอีกด้วยค่ะ
ทั้งนี้ หยกใช้ที่กรองน้ำแบบพกพา ยี่ห้อ Sawyer รุ่น Mini Sawyer เป็นแบบหมุนติดกับขวดน้ำ (ที่เป็นขวดที่มีเกลียวเฉพาะกับที่กรอง ที่กรองนี้ใช้ไม่ได้กับทุกขวดน้ำนะคะ) แล้วดื่มโดยตรงจากที่กรอง (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ที่ ข้อ 7.3 ที่กรองน้ำแบบพกพา ใน คู่มือการเตรียมตัวก่อนไปเทรคกิ้งเนปาล นะคะ)

4). เตรียมอะไรไปเทรค กับ อุปกรณ์กันแดด
- เสื้อเดินแขนยาว หรือ ปลอกแขน
แนะนำให้เลือกแบบที่ทำจาก โพลีเอสเตอร์ นะคะ ระบายอากาศได้ดี ไม่อึดอัด เหงื่อแห้งเร็ว ไม่กักเก็บเหงื่อ บางท่านอาจสะดวกใส่ เสื้อเดินแขนยาว บางท่านอาจชอบ ปลอกแขน เลือกตามความสะดวกในการใช้งานของแต่ละบุคคล นะคะ
- ผ้าบัฟ
ผ้าบัฟ บางท่านอาจไม่ชอบ ใส่แล้วอึดอัด แนะนำให้เลือกผ้าที่ทำจาก โพลีเอสเตอร์ เหมือนกันค่ะ จะใส่สบายและหายใจสะดวก ผ้าบัฟนี่ไม่จำเป็นต้องใส่ลงไปในลิสต์ การ เตรียมของไปเนปาล นะคะ ขึ้นกับความสะดวกในการใช้งานของแต่ละบุคคลเช่นกัน
- ลิปมันกันแดด แบบที่มี SPF
กรณีเดินขึ้นที่สูง 3,000 เมตรขึ้นไป ยิ่งสูง แดดยิ่งแรง รังสียูวียิ่งเข้ม หากมีลมพัดแรงด้วย ยิ่งทำให้เกิดอาการไหม้แดดได้ง่ายค่ะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับริมฝีปาก จะทรมานมากเลยค่ะ ทานอาหารก็ยาก อากาศหนาวๆ เราก็อยากทานของร้อน แต่ก็ยิ่งลำบาก ทานไม่ได้ ยิ่งทาน ยิ่งเจ็บ ขนาดแค่แปรงฟันยังระบมเลยค่ะ
- อุปกรณ์กันแดดอื่นๆ เช่น หมวกกันแดด, แว่นตากันแดด และ ครีมกันแดด (ทาบ่อยๆ นะคะ) เป็นต้น

5). เตรียมอะไรไปเทรค กับ ยาต่างๆ
- ยาสามัญประจำบ้าน และ ยาประจำตัว (ถ้ามี)
เตรียมของไปเนปาล กับ ยาสามัญประจำบ้านทั่วๆ ไป ที่เป็นของจำเป็น ที่อยู่ใน ลิสต์ของที่ต้องเตรียมไปเทรคกิ้งเนปาล ค่ะ คือต้องมี แต่ถ้าไม่ได้ใช้ ก็ไม่เป็นไรค่ะ
เช่น ยาบรรเทาปวด (พาราเซตามอล หรือ ไอบูโพรเฟน), ยาแก้ปวดท้อง ท้องเสีย (คาร์บอนดูดสารพิษ), ยาแก้แพ้, ยาทาแก้แพ้ เกิดโดนแมลงสัตว์กัดต่อย และ ผงเกลือแร่ เกิดสูญเสียน้ำ จากอาหารท้องเสีย เป็นต้น และหากใครมีโรคประจำตัวที่จะต้องมีการทานยาประจำ อย่าลืมพกยาประจำตัวมาให้เพียงพอนะคะ
- ยาปฏิชีวนะ
สำหรับเพื่อนๆ ที่จะเทรคนานกว่า 10 วัน แนะนำให้เตรียม ยาปฏิชีวนะ มาด้วยนะคะ เผื่อมีการเจ็บป่วยเกิดขึ้น เช่น ไม่สบายมากๆ เป็นไข้ เป็นหวัดหนักๆ หรือ ท้องเสียรุนแรง ที่ต้องเทรคกิ้งหลายวัน ยังห่างไกลวันเดินกลับ ทั้งยังห่างไกลมือหมอ มียาพกไว้ก็สบายใจค่ะ ช่วยต่อก้าวเดินให้เดินต่อจนจบ และช่วยให้อาการที่แย่ หายได้เร็วขึ้น
คำเตือน
ยาปฏิชีวนะ เป็นของอันตราย โปรดมั่นใจว่าทราบถึงวิธีการใช้ยาและขนาดยาที่ถูกต้อง โดยปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร ให้เข้าใจดี ว่าตอนไหนควรใช้ยา ก่อนซื้อยานะคะ เพราะถ้าจำเป็นต้องทานจริงเมื่ออยู่บนเขา จะไม่มีใครให้มาถามนะคะ
- ยาอมแก้เจ็บคอ เช่น สเตร็ปซิล
สำหรับเพื่อนๆ ที่จะไปเทรคบนเขาสูงกว่า 3,500 เมตร หลายๆ วัน ที่จะมีอากาศหนาวเย็น การ เตรียมของไปเนปาล อาจมีบางอย่างที่คาดไม่ถึงว่าต้องเตรียมไปด้วย หยกแนะนำให้พกยาอมแก้ไอ แก้เจ็บคอ พวกสเตร็ปซิล ไปด้วยนะคะ เพราะบนที่สูงๆ ที่มีอากาศหนาวเย็นมากๆ อาจเกิดอาการไอ ไอแบบคันๆ คอ ที่จะทรมานจนนอนไม่ได้กันเลยค่ะ
- ชุดปฐมพยาบาล
การเกิดบาดแผลเป็นเรื่องธรรมดา แนะนำให้พกแอลกอฮอล์, ยาทาแผลสด, พลาสเตอร์, สำลี, ผ้าก๊อซ และ เทปปิดแผลไปด้วยค่ะ

6). เตรียมอะไรไปเทรค กับ ของใช้ทั่วไป
- สำเนาหนังสือเดินทาง และ สำเนาประกันการเดินทาง
เพื่อเก็บไว้ในกระเป๋าเดินทาง เกิดบังเอิญกระเป๋าหาย หรือ ไปหลงวางไว้ที่ไหน จะได้หาเจ้าของเจอค่ะ ส่วน สำเนาประกันการเดินทาง นั้น เผื่อในกรณีต้องเรียกเฮลิคอปเตอร์ แล้วเค้าต้องการหลักฐานว่าเรามีประกันที่ครอบคลุมค่ะ
- ตัวแปลงไฟ (adapter)
ที่เนปาลใช้ปลั๊กแบบสองขากลมค่ะ บนเส้นทางเทรคกิ้งที่ฮิตๆ ส่วนใหญ่จะมี ปลั๊กสากล เตรียมไว้ ให้ใช้งานได้กับปลั๊กจากทุกประเทศ แต่ไม่ใช่ทุกที่นะคะที่มี ดังนั้น เตรียมไปเองก็ปลอดภัยค่ะ มีใช้เมื่อต้องการ เพราะแบตเตอรี่เป็นสิ่งสำคัญ และที่ชาร์จไฟก็สำคัญเช่นกัน เพราะไม่ใช่ทุกที่ ที่มีที่ชาร์จไฟ และ ไม่ใช่ทุกที่ ที่มีที่ชาร์จไฟฟรี
- Money belt หรือ กระเป๋าซ่อนเงินคาดเอว
กระเป๋าซ่อนเงินคาดเอว นี้ ทำหน้าที่เสมือนตู้เซฟค่ะ โดยมีรหัสคือ การไม่ให้ใครเห็น ทำหน้าที่ เอาไว้ใส่ซ่อนเงินสดไว้ใต้กางเกงค่ะ ซึ่งหยกจะแบ่งเงินออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก พกน้อยๆ สำหรับใช้ 2 – 3 วันในกระเป๋าเงินที่พกติดตัว และส่วนที่เหลือจะใส่ใน ถุงซิปล๊อค แล้วเก็บใน money belt ค่ะ โดยหยกจะตรวจสอบเงินในกระเป๋าเงินที่ใช้ทุกเย็น เพื่อทำการเติมเงินค่ะ

- ข้อควรรู้ของการใช้ money belt
- กระเป๋าซ่อนเงินคาดเอวนี้ มีเอาไว้ซ่อนเงิน มีเอาไว้เป็นความลับ ไม่ให้ใครรู้ ดังนั้นแล้ว เราไม่ควรคาดที่เอวด้านนอกกางเกงนะคะ แต่ควรคาดเอวก่อน แล้วสวมกางเกงทับ เพื่อไม่ให้ใครเห็นค่ะ
- ไม่หยิบของจาก กระเป๋าซ่อนเงินคาดเอว ในที่สาธารณะเด็ดขาด แต่ควรไปหยิบของในห้องน้ำ หรือ ห้องส่วนตัวที่ไม่มีใครเห็น และ ไม่ควรหยิบของให้ใครเห็น
- เมื่ออยู่ในที่พักบนเขา teahouse ไม่ควรทิ้ง กระเป๋าซ่อนเงินคาดเอว นี้ไว้ในห้องพักเด็ดขาด ควรพกติดตัวตลอดเวลา ถึงแม้จะมีเพื่อนร่วมห้องอยู่ในห้องก็ตาม
- แม่กุญแจ
แม่กุญแจ เป็นอีกหนึ่งสิ่ง ของ การ เตรียมของไปเนปาล ที่หยกว่ามีความสำคัญมากๆ นะคะ เอาไว้สำหรับล็อคห้องพักบนเขา เพราะของมีค่าที่เราพกไปด้วยระหว่างการเทรคกิ้ง ก็คงจะเป็นกล้องที่มีภาพถ่ายแห่งความทรงจำตลอดการเทรค และ เงินสดจำนวนมาก (ในกรณีที่ทำการจ่ายค่ากินและค่าที่พักเอง) รวมทั้งของสำคัญอื่นๆ เช่น หนังสือเดินทาง เป็นต้น การที่มีกุญแจส่วนตัวไปล๊อคห้องพักนั้น ช่วยลดความเสี่ยงของหายได้มาก
- ของใช้ทั่วไปในห้องน้ำ
เช่น ผ้าเช็ดตัว (แนะนำไมโครไฟเบอร์ น้ำหนักเบา แห้งง่าย), สบู่, แชมพู, แปรงสีฟัน, ยาสีฟัน และ ผงซักฟอก (กรณีไปเทรคหลายๆ วัน ที่จำเป็นต้องซักเสื้อผ้า) แนะนำให้พกแบบพกพา ขนาดเล็กๆ นะคะ
- รองเท้าแตะ
ไว้เปลี่ยนใส่เพื่อพักผ่อนเท้า เมื่อถึงที่พัก หลังจากเดินมาเหนื่อยๆ เมื่อยเท้า แน่นเท้าจากการใส่รองเท้าเดินป่ามาทั้งวัน, ใส่เดินเล่นในหรือรอบๆ ที่พัก ก็ได้ และแน่นอนค่ะ ไว้ใส่ตอนอาบน้ำ หรือ ซักผ้า ค่ะ
หากเป็นไปได้ แนะนำแบบสวม ไม่ใช่แบบคีบนะคะ เพราะบนที่สูงๆ อากาศหนาวๆ เราต้องใส่ถุงเท้าด้วยค่ะ รองเท้าแตะแบบสวมจึงง่ายและสบายกว่า แต่ตัวหยกเองนั้น ยังคงใช้แบบคีบค่ะ เพราะไม่มีความจำเป็นต้องซื้อใหม่ อีกทั้งแบบสวม ส่วนใหญ่จะมีขนาดใหญ่ที่มักจะกินพื้นที่ในกระเป๋า

- กระดาษชำระ
ใครจะคิดว่า กระดาษชำระ จะเป็นลิสต์ของในการ จัดกระเป๋าไปเทรคกิ้งเนปาล แต่ของสิ่งนี้สำคัญมาก ซึ่งส่วนมากในเขตพื้นที่สูงที่สูงกว่า 2,500 เมตร มักจะไม่มีกระดาษชำระไว้บริการ เนื่องจากการจำกัดในการขนส่งข้าวของขึ้นเขาค่ะ ให้กะประมาณจำนวนที่จะใช้ให้พอดีตลอดเทรค ทั้งไว้ใช้ระหว่างทานอาหาร ระหว่างเดินเทรค เข้าห้องน้ำทั้งหนักและเบา พร้อมเผื่อกรณีฉุกเฉิน เช่น ท้องเสีย หรือ เป็นหวัด (มีน้ำมูก) นะคะ
- ทิชชู่เปียก
อีกสิ่งของที่ไม่ควรลืม ในการ จัดกระเป๋าไปเทรคกิ้งเนปาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตที่มีอากาศหนาวเย็น การอาบน้ำเป็นไปได้ยากมาก ถึงแม้จะมีห้องอาบน้ำที่มีน้ำร้อนให้บริการก็ตาม ทิชชู่เปียกจึงเป็นตัวช่วยที่ดี เพื่อเช็ดคราบครีมกันแดด เหงื่อไคล จะช่วยให้สบายตัวมากยิ่งขึ้น และนอนหลับพักผ่อนได้เต็มที่
- กรรไกรตัดเล็บ
การเกิดเล็บขบ เล็บฉีก มันเจ็บ และทรมานมาก ยิ่งหากเกิดที่นิ้วเท้าและต้องใส่รองเท้าเดินทุกวันแบบนี้ คงจะยิ่งทรมานมากขึ้นไปอีก (กรรไกรตัดเล็บนี้ carry-on ไม่ได้ ต้องใส่ในกระเป๋าที่โหลดใต้เครื่องบินเท่านั้นนะคะ)
- หน้ากากอนามัย
เตรียมของไปเนปาล กับ หน้ากากอนามัย นั้นสำคัญสุดๆ ค่ะ ยิ่งกับท่านที่แพ้อากาศ หรือ มีภูมิแพ้ด้วยแล้ว จะมีประโยชน์มากๆ เลยค่ะ เอาไว้ใส่ขณะเดินใน Kathmandu และระหว่างนั่งรถจาก Pokhara ไป – กลับ จุดเริ่มเดินและจุดสิ้นสุด เพราะถนนเป็นถนนดินค่ะ

* ลิสต์ที่ต้องเตรียมไปเทรคกิ้งเนปาล เหล่านี้ เป็นเพียงแนวทาง และ คำแนะนำในการเตรียมตัวเท่านั้น โปรดประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับแต่ละเส้นทาง และ คำนึงถึงน้ำหนัก ในการ จัดกระเป๋าไปเทรคกิ้งเนปาล ด้วยนะคะ *
มองหาทริปลุยๆ มันส์ๆ + ไกด์หญิงคนไทย ? เนปาล? ทาจิกิสถาน? คีร์กีซสถาน? จอร์แดน? ศรีลังกา?
หยกจัดทริปแล้วค่ะ ปี 2565 สนใจทริปไหน คลิ๊กอ่านเพิ่มเติมที่ภาพได้เลยค่ะ ไปผจญภัยกัน!
3. ข้อควรรู้ และ ข้อควรระมัดระวัง ในการ จัดกระเป๋าไปเทรคกิ้งเนปาล
- เตรียมของไปเนปาล กับการพื้นที่และเผื่อน้ำหนักกระเป๋า
ส่วนใหญ่แล้ว หากเราแชร์ลูกหาบ เราจะได้น้ำหนักคนละ 10 กิโลกรัม เพื่อเตรียมของของเรา เอาให้ลูกหาบแบก ดังนั้น โปรดอย่าลืมว่าเพื่อนๆ อาจจะยังมีของที่ต้อง ซื้อ หรือ เช่า ที่เนปาลเพิ่มจากของที่เตรียมไปจากไทยด้วยนะคะ
- จัดกระเป๋าไปเทรคกิ้งเนปาล น้ำหนักของเป็นสิ่งสำคัญ
หากมีของที่ต้องการเตรียมไปเผื่อ ชิ้นเล็กชิ้นน้อย สัก 10 ชิ้น น้ำหนักของเหล่านั้น รวมๆ กัน อาจหนักได้ถึง 3 กิโล 5 กิโล เลยนะคะ ไม่เชื่อ ลองแยกของที่ไม่จำเป็น แต่อยากเอาไปเผื่อไว้ต่างหาก แล้วชั่งน้ำหนักของเหล่านั้นดูสิคะ เผลอๆ ของที่อยากเตรียมไปเผื่อหนักเกือบพอๆ กับของจำเป็นเลยก็ได้ค่ะ
- ควรทราบว่า ของจำเป็นใดๆ ที่ต้องพกติดตัวไว้ระหว่างเทรค ไม่ฝากไว้กับลูกหาบ
ทราบ รายการของที่ต้องเตรียมไปเทรคกิ้งเนปาล ที่จำเป็น ที่ต้องพกติดตัวไว้ระหว่างเทรค ไม่เก็บของเหล่านี้ไว้กับลูกหาบ เพราะลูกหาบไม่ได้เดินไปพร้อมๆ กับเราเสมอไปค่ะ เมื่อถึงเวลาเทรคจริง ตอนจัดกระเป๋า เราจะได้จัดได้ถูก (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ที่ ข้อ 8 รายการสิ่งของที่แนะนำให้แบกเองระหว่างเทรค ใน คู่มือการเตรียมตัวก่อนไปเทรคกิ้งเนปาล นะคะ)

- เตรียมอะไรไปเทรค กับ การเก็บของไว้ที่เดิม ช่องเดิมตลอด
การ เตรียมของไปเนปาล มาเทรคกิ้งบนเขา 5 วัน 7 วัน ที่ต้องย้ายที่นอนที่พักทุกวัน ต้องรื้อกระเป๋าทุกเย็น และ ต้องแพ็คใหม่ทุกเช้า แล้วหากเส้นทางที่เพื่อนๆ กำลังเทรคอยู่นั้นต้องใช้เวลานานๆ แบบ 15 หรือ 20 วัน “การต้องมานั่งนึก นั่งรื้อของ เพราะจำไม่ได้ว่าอะไรอยู่ที่ไหน เก็บอะไรไว้ไหน คุ้นๆ ว่าเมื่อเช้าเก็บไว้ตรงนี้ เอ้.. นั่นมันเมื่อวันก่อนๆ หนิ ไม่ใช่เมื่อเช้า พอเข้าวันที่สิบกว่าๆ ยิ่งสับสนและหาของไม่เจอไปอีกเลยสิคะทีนี้ เป็นต้น”
คงไม่สนุกแน่ ยิ่งต้องมาหาของตอนอากาศหนาวๆ มือแข็งๆ นี่ยิ่งทรมานค่ะ พลาดอารมณ์เสีย หมดสนุกไปเลย ด้วยเหตุนี้ หยกมักจะเก็บของไว้ที่เดิมตลอดค่ะ เคยเก็บอะไรไว้ตรงไหน ช่องไหน ไว้กับอะไร ก็จะเก็บไว้เหมือนเดิมตลอด นอกจากจะง่ายต่อการหาของแล้ว ยังทำให้การแพ็คของในตอนเช้านั้น เป็นระบบ แพ็คของได้เร็วขึ้นอีกด้วยนะคะ
- ขนมเติมพลัง ยาดม ยาอม ยาหม่อง และ ลิปมัน ใส่ไว้ที่ช่องตรงสายคาดสะโพก
ใช่ค่ะ ของพวกนี้ เป็นของที่หยกจะหยิบใช้บ่อยที่สุด ทั้งของหล่านี้ยังเป็นของชิ้นเล็กๆ ที่หากเก็บไว้ในช่องใหญ่ๆ คงต้องรื้อกระเป๋าหาเป็นแน่ กว่าจะหาเจอนี่คือเหนื่อยกว่าเก่าและหมดแรงไปเลยค่ะ อีกทั้ง ที่สายคาดสะโพกของกระเป๋าแบ็คแพ็คนั้น จะมีช่องใส่ของเล็กๆ ทั้งสองข้าง ซึ่งเหมาะมากกับการเก็บของพวกนี้ ที่สามารถหยิบมาใช้เองได้ทันที เช่น เดินเหนื่อยๆ แล้วต้องการยาดม หรือ อยากได้ลูกอมหวานๆ มาเติมน้ำตาลกันสักหน่อย เป็นต้น

เป็นยังไงล่ะ เพื่อนๆ คงจะทราบแล้วว่า เทรคกิ้งรอบนี้เส้นนี้ ต้อง เตรียมของไปเนปาล เตรียมอะไรไปเทรค ด้วยดี ทีนี้ คงจะเตรียมตัว จัดกระเป๋าไปเทรคกิ้งเนปาล ได้เองง่ายๆ เลยใช่ไหมละคะ และมี รายการของที่ต้องเตรียมไปเทรคกิ้งเนปาล ครบถ้วนเลย พร้อมเทรคสุดๆ แล้วค่ะ
ทั้งนี้ หากเพื่อนๆ ท่านใดมีข้อสงสัย ตรงไหนไม่ชัดเจน ไม่เข้าใจ มี รายการของที่ต้องเตรียมไปเทรคกิ้งเนปาล ที่ไม่แน่ใจว่าควรเตรียมไปไหม หรือ อยากได้ประเด็นไหนเพิ่ม คอมเม้นต์มาที่ช่องคอมเม้นต์ที่ด้านล่างนี้ได้เลยค่ะ หยกรอตอบอยู่น้า และสำหรับเพื่อนๆ ท่านใดที่อยากร่วมทริปไปกับหยก หยกก็ยินดีมากๆ ค่ะ สามารถดูทริปเที่ยวได้ที่นี่เลยนะคะ แล้วทักหยกมาค่ะ สนุกแน่!