
Trekking Poles หรือ ไม้เท้าเดินป่า เป็นอีกอุปกรณ์ที่สำคัญ และ เป็นประโยชน์มาก ๆ กับ นักเทรคกิ้ง (trekker) หรือ นักเดินป่าระยะไกล หรือแม้กระทั่ง กับ นักไฮกิ้ง (hiker) หรือ นักเดินป่าระยะสั้น เพราะไอ้เจ้าไม้เท้าเดินป่านี้ จะช่วยเอื้อความสะดวก ความกระฉับกระเฉงในจังหวะการเดิน ให้เดินง่ายขึ้น คล่องขึ้น เและ เร็วขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเดินบนเส้นทาง (trail) ที่ชันขึ้น ๆ หรือ ลาดชันลงมาก ๆ ทั้งยังช่วยในเรื่องของบุคลิกภาพได้อย่างไม่น่าเชื่อ ทั้งเรื่องของแผ่นหลังให้ตรง และ ยังช่วยลดแรงการลงน้ำหนักที่หัวเข่า และ ข้อต่อต่าง ๆ อีกด้วยค่ะ ทั้งนี้ สามารถอ่านบทความเกี่ยวกับ ไฮกิ้ง เทรคกิ้ง คืออะไร ต่างกันอย่างไร และ ข้อดี ข้อคิด ประโยชน์ที่ได้จากการไฮกิ้ง เทรคกิ้ง หรือ จะเป็น การเลือกกระเป๋าแบ็คแพ็คที่เหมาะกับคุณ หรือ การเลือกรองเท้าเดินป่า (hiking shoes) ให้เหมาะกับกิจกรรมที่จะทำ รวมทั้งชนิดของรองเท้าเดินป่า และวิธีการดูแลรักษารองเท้า ได้ที่ลิ้งค์ตัวหนังสือสีส้มตรงนี้เลยค่ะ

ก่อนที่หยกจะได้มาสัมผัสกับ ไม้เท้าเดินป่า (trekking poles) หรือ ไม้ค้ำเดินป่า นี้ หยกเคยคิดว่า “ชาตินี้ทั้งชาติ ยังไง๊ยังไงก็ไม่มีวันซื้อไอ้เจ้าไม้เท้านี่หรอก แพงก็แพง ดูแก่ ดูไม่เท่ห์ ดูท่าจะเดินลำบาก เดินยากกว่าเดิมอีก” แต่พอมีโอกาสได้พูดคุยกับ นักท่องเที่ยวขาลุยมากมายที่ต้องพก ไม้เท้าเดินป่า ไปด้วยทุกทริปแล้ว ได้ทึ่งถึงประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นกับการลุยด้วยไม้เท้าเดินป่าคู่ใจ จึงได้ลองเปิดใจซื้อมาลองใช้ดูค่ะ หลังจากใช้แค่ทริปแรก ก็ถึงบางอ้อ แล้วเข้าใจแจ่มแจ้งชัดเจนเลยว่า ทำไม ไม้เท้าเดินป่า นี้ ถึงกลายเป็นอีกอุปกรณ์ท่องเที่ยว ที่ขาดไม่ได้เลย ไม่ว่าจะเป็นแค่การเดินป่าสั้น ๆ ง่าย ๆ ก็ตาม เพราะใช้ดี จึงบอกต่อ บทความบทนี้จึงเกิดขึ้น

โดยที่บทความนี้ จะมีรายละเอียดของหัวข้อดังต่อไปนี้นะคะ
- ประโยชน์ และ ข้อดี ของ trekking poles
- ส่วนประกอบของ trekking poles และการใช้งาน
- วิธีการใช้ trekking poles ที่ถูกต้อง
- ถือ trekking poles ขึ้นเครื่องได้ไหมน้า
พร้อมแล้วก็ไปเตรียมตัวหา ไม้เท้าเดินป่า คู่ใจ พร้อมกับ การใช้ไม้เท้าเดินป่า พร้อม ๆ กันเลยค่ะ
มองหาทริปลุยๆ มันส์ๆ + ไกด์หญิงคนไทย ? เนปาล? ทาจิกิสถาน? คีร์กีซสถาน? จอร์แดน? ศรีลังกา?
หยกจัดทริปแล้วค่ะ ปี 2565 สนใจทริปไหน คลิ๊กอ่านเพิ่มเติมที่ภาพได้เลยค่ะ ไปผจญภัยกัน!
มีเพื่อนๆ หลายท่านให้ความสนใจ หลังจากอ่านรีวิวการท่องเที่ยวของหยก ที่มีรูปแบบที่ค่อนข้างลุย ไปในที่ๆ มีนักท่องเที่ยวน้อยๆ ชอบขวนขวายหาสถานที่เที่ยวใหม่ๆ และได้เที่ยวได้สัมผัสแต่ละที่แบบเต็มๆ บอกว่า “ดูสนุกมากๆ เป็นสไตล์การท่องเที่ยวที่หายาก ไม่ค่อยมีใครเที่ยวแนวนี้กัน และอยากให้หยกจัดทริปพาเที่ยว” ในที่สุด หยกได้จัดทัวร์พาเที่ยวแล้วนะคะ เย้ๆๆ หยกเลยถือโอกาสนี้ ทำโพสต์ถึงเหตุผลที่หยกจัดทริป ทำไมทัวร์ของหยกจึงแตกต่าง และ ทำไมต้องมาเที่ยวกับหยก? มาไว้ที่นี้ค่ะ มาร่วมทริปร่วมสนุกด้วยกันนะคะ
1. ประโยชน์ และ ข้อดี ของ ไม้เท้าเดินป่า
ประโยชน์ ข้อดี และสิ่งที่ ไม้เท้าเดินป่า ให้กับเรานั้น มีมากมายอย่างไม่น่าเชื่อเลย ทีนี้ก็มาดูกันค่ะว่ามีอะไรบ้าง -ช่วยรักษาสมดุล และ การทรงตัวขณะเดิน ในทุกพื้นผิว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเดินบนทางลาดชัน ทั้งชันขึ้น และ ลาดลง

-ช่วยในการกระจายน้ำหนักไปที่แขน, ไหล่ และ หลังบน ไม่ให้ลงที่ขาอย่างเดียว ยิ่งเวลาที่มีกระเป๋าแบ็คแพ็คอยู่ที่หลังด้วยแล้ว จึงเมื่อยขาน้อยลง -ไม้เท้าเดินป่า ยังช่วยให้เรามีจังหวะในการเดิน ช่วยผลักเราไปด้านหน้า จึงช่วยให้เดินได้ง่ายขึ้น ตัวเบาขึ้น เลยเดินได้เร็วขึ้น และ สบายขึ้น -เนื่องจากช่วยในการกระจายน้ำหนัก จึงช่วยลดแรงกระแทกที่หัวเข่า ข้อต่อ และ ข้อเท้า จึงช่วยถนอมอีกอวัยวะที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หัวเข่า ที่นักเทรคกิ้งรักนักหนา -ช่วยหยั่งความลึกของน้ำ และ ช่วยในการข้ามลำธารหรือแม่น้ำ ยิ่งกรณีที่น้ำไหลแรง ไม้เท้าเดินป่า จะช่วยค้ำต้านแรงของน้ำ ให้เราสามารถก้าวขาได้อย่างมั่นคง และ ข้ามน้ำไปได้ในที่สุด

-ช่วยป้องกันการลื่นล้ม กรณีเดินบนทางเปียก ลื่น ลาดชัน มีโคลนตม หรือ หิมะ

-ช่วยให้มีบุคลิกภาพที่ดี ด้วยการใช้ ไม้ค้ำเดินป่า ที่ถูกต้อง จะต้องเดินด้วยไหล่ที่ตั้ง อกที่ผาย และ หลังที่ตรง -ยังมีประโยชน์เล็ก ๆ น้อย ๆ ในระหว่างการแค้มปิ้ง เช่น เป็นที่ตากเสื้อผ้า ถุงเท้า หรือ ช่วยค้ำยันฟลายชีทของเต็นท์ หรือ ยังสามารถใช้เป็นอาวุธป้องกันตัวได้ด้วย
2. ส่วนประกอบของ ไม้เท้าเดินป่า และการใช้งาน
แล้ว ไม้เท้าเดินป่า มีส่วนประกอบอะไรที่ต้องรู้จักบ้าง หากอยากจะได้สักคู่ และแต่ละส่วนสำคัญอย่างไร
2.1) ด้ามจับ (grip)
มักจะเป็นรูปทรงเป็นร่องนิ้วมือ เพื่อให้จับได้เข้ามือ และ ล็อคนิ้วได้พอดี
2.2) สายคล้องข้อมือ (wrist strap)
ช่วยให้เราจับ ไม้เท้าเดินป่า ได้อย่างมั่นคง ไม่ลื่นหลุดมือได้ง่าย ทั้งนี้ เรายังสามารถปล่อยไม้เท้าเดินป่า ทั้ง ๆ ที่ยังมีสายคล้องอยู่กับข้อมือเรา เพื่อไปหยิบจับ ทำอย่างอื่น เช่น ดื่มน้ำ ทานขนม หรือ ถ่ายรูป โดยไม่ต้องห่วงว่า ไม้เท้าเดินป่า จะร่วงหล่นลงไปกับพื้น

2.3) ก้านไม้เท้า (shaft)
สามารถปรับสั้นยาวได้ให้เหมาะกับแต่ละบุคคล ปัจจุบันมีวัสดุที่ใช้ทำก้านไม้เท้าอยู่ 2 อย่างที่นิยม คือ อลูมิเนียม และ คาร์บอน ซึ่งมีข้อดี ข้อเสีย ต่างกัน แล้วแต่ใครจะเลือกใช้ค่ะ ก้านไม้เท้าที่ทำจากอลูมิเนียม ราคาจะถูก แต่ก็จะมีน้ำหนักมากกว่า คนมักนิยมใช้ด้วยเรื่องของความแข็งแรง เหนียว และ ยืดหยุ่นได้มาก แต่อาจบิดงอได้ (แต่ไม่หัก) หากมีการรับน้ำหนักที่มากเกินไป ส่วนก้านไม้เท้าที่ทำจากคาร์บอนนั้น ราคาก็จะสูงกว่าค่ะ แต่น้ำหนักก็จะเบามากสมกับราคาที่สูง ในเรื่องของความยืดหยุ่นนั้นมีน้อยกว่า จึงอาจแตกหรือเปราะได้ (แต่ไม่หัก) หากมีการรับน้ำหนักที่มากเกินไป

โดยจะมีระบบล็อค เพื่อปรับขนาดไม้เท้า หลักๆ อยู่ 4 แบบ คือ แบบหมุนเลื่อน หรือ หมุนเกลียว คล้าย ๆ กับตัวปรับความสั้นยาวของขาตั้งกล้องค่ะ, แบบที่ตัวล็อคอยู่ด้านนอก เหมือนที่หยกใช้, แบบปุ่มกด คล้าย ๆ ที่กดกางร่มค่ะ และ แบบเก็บพับคล้ายเสาเต็นท์ค่ะ
2.4) แผ่นกันจม (basket)
ไอ้เจ้าแผ่นเล็กๆ ที่อยู่ใกล้ๆส่วนปลายของ trekking poles นี้ ก็สำคัญนะคะ เพราะช่วยกันไม่ให้ไม้เท้าจมมิดลงไปกับพื้นผิวบางประเภท เช่น หิมะ ดินทราย หรือ โคลนตม
2.5) ส่วนปลาย (tip)
ส่วนปลายไม้เท้า ซึ่งแต่ละลักษณะนั้น ก็มีประโยชน์การใช้งานแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นผิว เช่น แบบปลายโลหะแหลม จะเหมาะกับการเดินป่า ทางเดินดิน ตามพื้นขรุขระ บริเวณที่เป็นโคลนตม หรือ หิมะ, ส่วนแบบปลายทู่พลาสติก (ซึ่งอาจจะเป็นจุกแยกไว้ปิดปลายโลหะแหลม ก็ได้) จะเหมาะกับทางเดินพื้นเรียบ หรือ ใช้ขณะเก็บ ไม้เท้าเดินป่า เพื่อไม่ให้ทิ่มแทงกระเป๋า หรือ คนรอบข้าง ก็ได้ค่ะ

บทความข้อมูลเทรคกิ้งเนปาล
สำหรับเพื่อนๆ ที่อยากลองเทรค อยากเที่ยวแนวนี้ แต่เริ่มไม่ถูก ไม่รู้จะหาข้อมูลเกี่ยวกับการเทรคกิ้งทั้งหมดได้ที่ไหน หรือแม้แต่เพื่อนๆ ที่หลงใหลการเทรคกิ้งเนปาล ที่อยากได้ข้อมูลเทรคกิ้งเพิ่ม นี่เลยค่ะ ที่เดียวกับข้อมูลเต็มๆ
- ไฮกิ้ง เทรคกิ้ง คืออะไร? ต่างกันยังไง? พร้อมคำอธิบายที่แจ่มชัด และตัวอย่าง
- ข้อมูลเทรคกิ้งบนเส้นทาง Poon Hill
- ข้อมูลเทรคกิ้งบนเส้นทาง Langtang
- ข้อมูลเทรคกิ้งบนเส้นทาง Annapurna Circuit ที่รวม Tilicho Lake ทะเลสาบสีฟ้าสุดเข้ม และ สวยงามสุดๆ เข้าไว้ด้วย
- ข้อมูลเทรคกิ้งบนเส้นทาง Mohare + Khopra
- ข้อมูลเทรคกิ้งบนเส้นทาง Everest Base Camp (EBC) + Kalapatthar
- ไป Pokhara พักที่ไหนดี มีอะไรเที่ยว
- Checklist เตรียมอะไรไปเทรคกิ้ง ที่สามารถเตรียมเองได้ ไม่มีสิ่งนี้ ทำยังไง หาอะไรทดแทน หาซื้อที่ไหน เตรียมสิ่งนี้ไปทำไม ใช้ประโยชน์อะไร
- How to ขอวีซ่าเนปาล ตั้งแต่การเตรียมการณ์มาจากบ้าน เพื่อยื่นขอ Visa On Arrival ที่สนามบินตรีภูวัน
- ข้อมูลการเตรียมตัว ก่อนไปเทรคกิ้งเนปาล ให้พร้อมที่สุด ต้องเตรียมอะไร, เทรคเส้นไหน, ประกันบริษัทอะไรดี, ฉีดวัคซีนไหม, Permits อะไรบ้าง, น้ำดื่มล่ะ, ซิมการ์ดแพงไหม และ แลกเงินที่ไหน ฯลฯ
- AMS – อาการทั่วไป? อาการรุนแรง? เกิดกับใคร? ที่ไหน? ป้องกัน+หลีกเลี่ยงยังไง? ข้อควรปฏิบัติ? ถ้ามีอาการต้องทำยังไง? รักษาได้ไหม?
- ประกันเดินทางต่างประเทศ และ ประกันเดินทางที่ครอบคลุมเทรคกิ้งเนปาล บนเขาสูงไม่เกิน 4,500 m + ครอบคลุมทั่วโลก เช่น เนปาล, ยุโรป, อเมริกา & ประเทศอื่นๆ + ครอบคลุมค่ารักษาโควิด
- DOs & DON’Ts ระหว่างเทรคกิ้ง เนปาล ข้อควรรู้ อะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ – ใส่หูฟังฟังเพลง? ให้ขนมเด็กบนเขา? เดินลุยข้ามแม่น้ำ ต้องถอดรองเท้าเดินป่า? ต้องทำยังไงเพื่อไม่ให้เมื่อยกล้ามเนื้อ? ฯลฯ
เป็นยังไงละคะ เพื่อนๆ ได้ข้อมูลเกี่ยวกับการเทรคกิ้งที่ครบถ้วน ที่ละเอียด อ่านง่าย เข้าใจเองได้ และยังทำตามได้เองสบายๆ เลยใช่ไหมล่ะ หากมีข้อสงสัยใดๆ คอมเม้นต์ที่ช่องคอมเม้นต์ด้านล่าง เข้ามาได้เลยนะคะ หยกรอตอบแล้วค่ะ
3. วิธี การใช้ไม้เท้าเดินป่า ที่ถูกต้อง
การใช้ไม้เท้าเดินป่า นั้น ง่ายนิดเดียวเองค่ะ เทคนิคการใช้ก็ไม่ได้ซับซ้อนอะไร แค่ต้องปรับขนาดไม้เท้าให้เหมาะกับแต่ละบุคคล และอาศัยความชำนาญในการใช้งานเท่านั้นเอง ลองดูวิธีการใช้ไม้เท้าเดินป่าแบบง่าย ๆ ตามนี้นะคะ
3.1) ปรับขนาดไม้เท้า
ก่อนอื่นต้องทำการปรับขนาดไม้เท้าให้เหมาะกับคุณก่อน โดยใช้มือจับที่ด้ามจับ แล้วตั้งไม้เท้าลงกับพื้นราบ ปรับขนาดให้พอดีกับความสูงของแต่ละคน โดยการดูได้จาก การให้ต้นแขนแนบลำตัว แล้วข้อศอกกางตั้งฉากกับพื้น นั่นคือ ขนาดความยาวของไม้เท้าที่เหมาะกับคุณค่ะ

3.2) สอดมือที่สายคล้องมือ แล้วจับด้ามจับ
การสอดมือเข้าสายคล้องมือจะเป็นในลักษณะที่ไม่ปกติ ดูเหมือนจะไม่ถนัดนะคะ คือ จับสายคล้องมือเข้าหาตัวแบบตรง ๆ เอามือลอดสายคล้องมือจากด้านล่างขึ้นข้างบน แล้วจับด้ามจับให้ถนัดมือ หากทำถูกต้อง ขณะที่จับด้ามจับนั้น คุณจะได้จับกับสายคล้องมือด้วย และ มีส่วนของสายคล้องข้อมือคาดพาดบนหลังมือของคุณค่ะ

3.3) ดึงสายรัดข้อมือ
โดยการดึงสายรัดข้อมือให้พอดี รู้สึกสบาย ไม่แน่น หรือ หลวมเกินไป
3.4) หลังตรง ศอกตั้งฉาก
เดินตามปกติเลยค่ะ หลังตรง แกว่งแขนขวา ก้าวขาซ้าย พอแกว่งแขนซ้าย ก็ก้าวขาขวา สลับไปเรื่อย ๆ ค่ะ โดยอย่าลงแรงสุด ๆ ที่แขนนะคะ
มองหาทริปลุยๆ มันส์ๆ + ไกด์หญิงคนไทย ? เนปาล? ทาจิกิสถาน? คีร์กีซสถาน? จอร์แดน? ศรีลังกา?
หยกจัดทริปแล้วค่ะ ปี 2565 สนใจทริปไหน คลิ๊กอ่านเพิ่มเติมที่ภาพได้เลยค่ะ ไปผจญภัยกัน!
4. ถือ trekking poles ขึ้นเครื่องได้ไหมน้า
เจ้าไม้เท้าเดินป่านี้มีปลายแหลมค่ะ ซึ่งอาจจะยังไม่มีกฎเป๊ะๆ ที่ว่า ห้ามถือ ไม้เท้าเดินป่า ขึ้นเครื่อง (carry-on) แต่สามารถถูกพิจารณาว่าเป็นของแหลมมีคม เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหา หยกแนะนำให้โหลดเจ้าไม้เท้านี่ใต้ท้องเครื่องจะดีกว่านะคะ

เห็นไหมคะว่าข้อดี และ ประโยชน์ของ ไม้เท้าเดินป่า นั้น มีมากมาย แถมการใช้งานก็ง่ายนิดเดียว เช่นนี้แล้ว พร้อมที่จะมีไม้เท้าเดินป่าคู่ใจสักคู่หรือยังคะ ที่แน่ ๆ คือต้องมีคนที่คิดแบบหยก 100% เลยค่ะ ที่ว่า “นี่มันไม้เท้าคนแก่ชัด ๆ ดูแล้วจะลำบากกว่ามีประโยชน์ เดินเองน่าจะง่ายกว่าการพกไม้เท้าสองมือ และ อื่น ๆ อีกมากมายที่ไม่ใช้แน่ ๆ” แล้วจุดเปลี่ยนของการมาใช้ไม้เท้าเดินป่าอยู่ตรงไหน แล้วอะไรที่ทำให้ทริปใด ๆ ก็ขาดไม้เท้าเดินป่าไม่ได้ คอมเม้นต์มาพูดคุยกัน มาแชร์ประสบการณ์ให้ได้ฟังด้วยนะคะ

หากมีคำถาม ข้อสงสัย แนะนำ หรือติชม ก็คอมเม้นต์เข้ามาได้เลยค่ะ ยินดีมาก ๆ
ขออนุญาตถามจ้า.
ไม้เท้า..จะมีแบบเป็นของ หญิง กับ ชาย โดยเฉพาะ หรือป่าวคะ ยี่ห้อ Leki หรือว่า ใช้ได้ทั้งคู่ ชายและหญิง..ก็สามารถใช้ได้เหมือนกัน.
ขอบคุณค่ะ
สวัสดีค่ะ คุณจิราวรรณ
ขอบคุณสำหรับคอมเม้นต์และยินดีมากๆ เลยค่ะ 🙂
โดยปกติทั่วไปแล้ว ไม้เท้าเดินป่า จะมีทั้งแบบเป็นของ หญิง, ชาย และ unisex ค่ะ ขึ้นกับแบรนด์และรุ่นนั้นๆ ซึ่งของ Leki ก็เช่นกันค่ะ ทั้งนี้ หากรุ่นที่สนใจเป็นแบบ unisex ก็จะใช้ได้ทั้งหญิงและชายค่ะ แต่หากรุ่นที่สนใจเป็นของผู้ชาย แนะนำให้ลองสอบถามคนขายเพื่อดูรุ่นเดียวกันนี้ในเว่อร์ชั่นของผู้หญิงนะคะ เพราะส่วนใหญ่เค้าจะทำคู่กันมาในรูปแบบที่เหมือนกันทั้งของชายและหญิง แต่จะปรับโครงสร้างการใช้งานบางอย่างให้เหมาะกับสรีระของแต่ละเพศค่ะ เช่น ความแตกต่างของด้ามจับ เพื่อให้จับได้กระชับ คล่องแคล่ว และสบาย ให้เหมาะความขนาดฝ่ามือและนิ้วมือของผู้หญิงหรือชายค่ะ และบางอย่างที่ออกแบบมาเพื่อเพศนั้นๆ เช่น สี เป็นต้น แนะนำให้ลองถามคนขายในรุ่นที่สนใจเพื่อให้ได้ ไม้เท้าเดินป่า ที่ตรงใจ และใช้เป็นตัวช่วยในการเทรคได้อย่างสบายๆ เลยนะคะ
หวังว่าจะเป็ฯประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะคะ 🙂 คุณจิราวรรณวางแผนจะไปเทรคที่ไหนคะเนี่ย?
อ่านสนุกมากกับการใช้ไม้แทรคกิ้ง กำลังจะไปเที่ยว บริษัททัวร์แนะนำให้ติดไป พอได้อ่านก็ยิ่งอยากมีไว้ประจำกายเพราะร่างกายเริ่มเข้าสู่วัยเกษียณ
จะติดตามอ่านและอาจจะjoinทัวร์ในอนาคต
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดี
สวัสดีค่ะ คุณ Sue
ขอบคุณสำหรับคอมเม้นต์ การติดตาม และความสนใจร่วมทัวร์กันนะคะ ดีใจมากๆ ค่ะ ที่บทความเป็นประโยชน์ 🙂
ไม้เท้าเดินป่า เป็นอาวุธคู่กายหยกไปแล้วค่ะ ไม่มีนี่ไม่ได้เลยนะคะ ตอนแรกนะคะ ใครบอกหยก หยกก็ไม่เคยเชื่อเลยค่ะ จนได้มาลองใช้ คำพูดต่างๆ นานาที่หลายคนบอกเรื่องข้อดีของไม้เท้าเดินป่าก็ถาโถมเข้ามา ประกอบกับสิ่งที่ได้จากประสบการณ์ที่ตัวเองใช้เองครั้งแรก เลยเข้าใจสุดฤทธิ์เลยค่ะ จากนั้นมา แค่ไฮกิ้ง เดินป่าสั้นๆ ก็พกตลอดๆ เลยค่ะ 🙂
เลือกขนาดให้เหมาะ ปรับความยาวให้ตรงกับตัวเอง และถือเดินให้ถูกต้องนะคะ จะได้ไม่เมื่อยหลังและเซฟเข่าค่ะ เดินทางปลอดภัย และเที่ยวให้สนุกนะคะ 🙂