
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9
นี่เป็นบทความตอนที่ 1 ของซีรีย์บทความเทรคกิ้งเนปาล 20 วัน กับ Manaslu Circuit และ Tsum Valley เรื่องเล่าและประสบการณ์มันส์ๆ ที่นอกจากจะสนุกแล้ว ยังให้บทเรียนต่างๆ ที่สอนอะไรใหม่ๆให้มากมาย รวมทั้งการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า หรือแม้กระทั่งความอดทน หรือ ความอึดที่ต้องมีอย่างมหาศาล ที่สำคัญก็คือความใจเย็น ทั้งยังสอดแทรก ทริคและเคล็ดลับ ข้อมูลการเดิน ระยะเวลา ระยะทาง รวมทั้งความสูงของแต่ละหมู่บ้าน ข้อควรระวัง และอื่นๆที่ควรรู้ ซึ่งหยกจะทำการแบ่งบทความออกเป็นรายวัน หรือ รายสองสามวันค่ะ โดยมีทั้งหมด 9 ตอน ทั้งนี้เพื่อนๆ สามารถคลิ๊กตัวเลขที่กล่องสีเหลืองด้านบนเพื่อเลือกอ่านเป็นตอนๆ ได้เลยค่ะ ยังไงรอติดตามอ่านตอนต่อๆ ไปด้วยนะคะ
ทั้งนี้ หยกได้เขียนหนังสือ คู่มือเทรคกิ้งเนปาล Manaslu & Tsum ซึ่งสามารถถือได้ว่าเป็นคู่มือเทรคกิ้งเนปาลที่เป็นภาษาไทยเล่มแรกเลยก็ว่าได้นะคะ ซึ่งมีข้อมูลครบถ้วนตั้งแต่การเตรียมตัว เสื้อผ้า ของที่จำเป็น ข้อควรรู้ควรระวัง ทริคต่างๆ ประกัน การป้องกัน AMS ข้อมูลเส้นทางเดิน และรายละเอียดอื่นๆ อีกมากมายที่จะทำให้มีการเตรียมตัวที่พร้อมสุดๆ และสามารถเทรคได้อย่างสบายใจและได้ประสบการณ์ดีๆ ติดไม้ติดมือกลับมา หากเพื่อนๆ สนใจ สามารถคลิ๊กที่ลิ้งค์เพื่อสั่งซื้อหรืออีเมลมาหาหยกได้เลยค่ะ
ก่อนอื่นมา ทำความรู้จักกับหยก และ การกำเนิดสนุกเที่ยว ก่อนดีไหมคะ จะได้ทราบว่า ไม่มีอะไรที่ยากเกินไป สำหรับมือใหม่ที่อยากเทรคกิ้ง หยกก็เริ่มจาก 0 ค่ะ จริงๆควรจะบอกว่าเริ่มจากความตรงกันข้ามเลยทีเดียว การท่องเที่ยวก็เช่นกัน -ถ้าหยกทำได้ ใครๆก็ทำได้- ค่ะ
การไปเทรคกิ้งที่เนปาลในปัจจุบันนั้นเป็นเรื่องที่ง่ายมากๆ ใครก็สามารถไปได้ เส้นทางเดินฮิตๆก็มีให้เลือกเยอะแยะไป จะเลือกเดินแบบสั้นๆ 5 วัน 7 วัน หรือยาวๆเป็นสัปดาห์ก็ได้ตามใจชอบ ตามเวลาว่างที่มนุษย์เงินเดือนอย่างเรามี ส่วนค่าใช้จ่ายหากเทียบกับยุโรป หรือ ที่เที่ยวอื่นๆในเอเชียบ้านเราก็ถือว่าค่อนข้างจะถูกเลยแหละค่ะ ยิ่งหากไปกันเป็นกลุ่ม ก็สามารถลดค่าใช้จ่ายได้ด้วยการแชร์ค่าไกด์ ค่าลูกหาบ และการมีลูกหาบช่วยแบกของนี้ ก็ยิ่งสบายเข้าไปใหญ่ สามารถเดินกันตัวเปล่าๆได้ชิวๆ สะพายแค่ daypack เบาๆ ใบเดียวแค่นั้นเอง
นอกจากนี้ หยกขอแนะนำเส้นทางเทรคกิ้งในเนปาล สำหรับใครที่มองหาเส้นทางสั้นๆ 4 – 5 วัน แนะนำ Ghorepani Poon Hill ค่ะ หรือจะเป็น Mardi Himal ที่ใช้เวลา 5 – 6 วัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในเส้นทางที่หยกจัดแผนการเดินขึ้นมาเอง คือ Mohare + Khopra ผสมกับเส้นทาง Mardi Himal ค่ะ โดยที่เส้นทาง 2 เส้นทางแรก คือ Mohare Khopra Danda Trek นั้นถือว่าเป็นเส้นทางน้องใหม่ที่สวยงามมากๆ บรรยากาศดี เห็นหิมาลัยแบบพาโนรามาแทบจะทุกวัน ที่สำคัญคือเดินไม่ยากและคนน้อยมากๆ อีกด้วยค่ะ หรืออีกเส้นทางฮิต Langtang Trek ที่สามารถเลือกเดินได้ตั้งแต่ 5 – 12 วัน
ไม่เพียงเท่านั้น หยกยังเขียนบทความ การเตรียมของไปเทรคกิ้งเนปาล กับ checklist รายการของแบบละเอียด ที่มีทั้งเตรียมอะไรไปบ้าง เตรียมไปทำไม ถ้าไม่มีทำยังไง เอาอะไรไปแทนได้ หรือ หาซื้อได้ที่ไหน พร้อมทั้ง คำแนะนำ ข้อควรรู้ และ ทริคต่างๆ เพื่อการเตรียมของไปเทรค ให้ครบที่สุด และ ให้เพื่อนๆ สามารถใช้งานได้เป็น ได้ถูกต้อง
มีเพื่อนๆ หลายท่านให้ความสนใจ หลังจากอ่านรีวิวการท่องเที่ยวของหยก ที่มีรูปแบบที่ค่อนข้างลุย ไปในที่ๆ มีนักท่องเที่ยวน้อยๆ ชอบขวนขวายหาสถานที่เที่ยวใหม่ๆ และได้เที่ยวได้สัมผัสแต่ละที่แบบเต็มๆ บอกว่า “ดูสนุกมากๆ เป็นสไตล์การท่องเที่ยวที่หายาก ไม่ค่อยมีใครเที่ยวแนวนี้กัน และอยากให้หยกจัดทริปพาเที่ยว” ในที่สุด หยกได้จัดทัวร์พาเที่ยวแล้วนะคะ เย้ๆๆ หยกเลยถือโอกาสนี้ ทำโพสต์ถึงเหตุผลที่หยกจัดทริป ทำไมทัวร์ของหยกจึงแตกต่าง และ ทำไมต้องมาเที่ยวกับหยก? มาไว้ที่นี้ค่ะ มาร่วมทริปร่วมสนุกด้วยกันนะคะ

แต่ๆๆ ไม่ใช่ว่าทุกเส้นทางของการเทรคกิ้งในเนปาลนั้นจะสวยงามและน่าเดินนะคะ ก็ด้วยความพัฒนาทางด้านต่างๆ ทั้งความที่เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั่วโลก จึงเริ่มมีการพัฒนาสิ่งต่างๆเพื่ออำนวยความสะดวกสบายแก่นักท่องเที่ยวให้มากยิ่งขึ้น จนทำให้ความเป็นธรรมชาติของเส้นทางเดินลดน้อยลงไป ทั้งเอกลักษณ์ของท้องถิ่นนั้นๆก็ค่อยๆจางลงไปอีกด้วย สังเกตได้ง่ายๆเลยค่ะ ก็จากการสร้างถนนหนทางที่สะดวกมากขึ้นในเส้นทางเทรคกิ้งทั้งหลาย ยาวไปจนถึงหลายๆหมู่บ้าน ที่ๆในอดีตมีแต่การเส้นทางการเดินเท้า จะมีถนนไปถึงก็แค่ตรงจุดเริ่มเดินเท่านั้น แต่ปัจจุบันกลับกลายเป็นว่ามีการเปลี่ยนเส้นทางเดินเขา (trail) เป็นถนนดินที่ฝุ่นคละคลุ้งไปเกือบซะแล้ว เลยต้องแชร์เส้นทางเดียวกันทั้งให้รถผ่านและให้คน(นักเทรคกิ้ง)เดิน บางเส้นทางยิ่งแย่เช้าไปใหญ่ ก็เล่นมีถนนยาวไปจนเกือบครึ่งทางเดินเทรคกิ้งเลยทีเดียว เป็นเช่นนี้แล้ว มันจะน่าเดินไหมละคะเนี่ย
มองหาทริปลุยๆ มันส์ๆ + ไกด์หญิงคนไทย ? เนปาล? ทาจิกิสถาน? คีร์กีซสถาน? จอร์แดน? ศรีลังกา?
หยกจัดทริปแล้วค่ะ ปี 2565 สนใจทริปไหน คลิ๊กอ่านเพิ่มเติมที่ภาพได้เลยค่ะ ไปผจญภัยกัน!
ไม่เพียงเท่านั้น หยกยังได้เทรคบนเส้นทาง Poon Hill และ Mohare, Khopra และ Mardi Himal อีกด้วยนะคะ เพื่อนๆ สามารถอ่านเรื่องเล่าปละประสบการณ์เทรคสนุกๆ ที่สอดแทรกข้อมูลต่างๆ ที่มีประโยชน์ได้ที่ลิ้งค์เหล่านี้เลยค่ะ

แล้วมันจะสนุกและเพลินยังไงละคะ หากจะต้องเดินตามถนน ที่ไม่มีวิว ทั้งยังต้องคอยหลบรถ คอยปิดจมูกจากควันรถและฝุ่นตลอดทาง กว่าจะได้เริ่มสนุกกับบรรยากาศของการเทรคกิ้งท่ามกลางภูเขาและธรรมชาติจริงๆ ก็นู้นค่ะ ตอนใกล้จะเดินจบนู้นแหละ

บทความข้อมูลเทรคกิ้งเนปาล
สำหรับเพื่อนๆ ที่อยากลองเทรค อยากเที่ยวแนวนี้ แต่เริ่มไม่ถูก ไม่รู้จะหาข้อมูลเกี่ยวกับการเทรคกิ้งทั้งหมดได้ที่ไหน หรือแม้แต่เพื่อนๆ ที่หลงใหลการเทรคกิ้งเนปาล ที่อยากได้ข้อมูลเทรคกิ้งเพิ่ม นี่เลยค่ะ ที่เดียวกับข้อมูลเต็มๆ
- ไฮกิ้ง เทรคกิ้ง คืออะไร? ต่างกันยังไง? พร้อมคำอธิบายที่แจ่มชัด และตัวอย่าง
- ข้อมูลเทรคกิ้งบนเส้นทาง Poon Hill
- ข้อมูลเทรคกิ้งบนเส้นทาง Langtang
- ข้อมูลเทรคกิ้งบนเส้นทาง Annapurna Circuit ที่รวม Tilicho Lake ทะเลสาบสีฟ้าสุดเข้ม และ สวยงามสุดๆ เข้าไว้ด้วย
- ข้อมูลเทรคกิ้งบนเส้นทาง Mohare + Khopra
- ข้อมูลเทรคกิ้งบนเส้นทาง Everest Base Camp (EBC) + Kalapatthar
- ไป Pokhara พักที่ไหนดี มีอะไรเที่ยว
- Checklist เตรียมอะไรไปเทรคกิ้ง ที่สามารถเตรียมเองได้ ไม่มีสิ่งนี้ ทำยังไง หาอะไรทดแทน หาซื้อที่ไหน เตรียมสิ่งนี้ไปทำไม ใช้ประโยชน์อะไร
- How to ขอวีซ่าเนปาล ตั้งแต่การเตรียมการณ์มาจากบ้าน เพื่อยื่นขอ Visa On Arrival ที่สนามบินตรีภูวัน
- ข้อมูลการเตรียมตัว ก่อนไปเทรคกิ้งเนปาล ให้พร้อมที่สุด ต้องเตรียมอะไร, เทรคเส้นไหน, ประกันบริษัทอะไรดี, ฉีดวัคซีนไหม, Permits อะไรบ้าง, น้ำดื่มล่ะ, ซิมการ์ดแพงไหม และ แลกเงินที่ไหน ฯลฯ
- AMS – อาการทั่วไป? อาการรุนแรง? เกิดกับใคร? ที่ไหน? ป้องกัน+หลีกเลี่ยงยังไง? ข้อควรปฏิบัติ? ถ้ามีอาการต้องทำยังไง? รักษาได้ไหม?
- ประกันเดินทางต่างประเทศ และ ประกันเดินทางที่ครอบคลุมเทรคกิ้งเนปาล บนเขาสูงไม่เกิน 4,500 m + ครอบคลุมทั่วโลก เช่น เนปาล, ยุโรป, อเมริกา & ประเทศอื่นๆ + ครอบคลุมค่ารักษาโควิด
- DOs & DON’Ts ระหว่างเทรคกิ้ง เนปาล ข้อควรรู้ อะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ – ใส่หูฟังฟังเพลง? ให้ขนมเด็กบนเขา? เดินลุยข้ามแม่น้ำ ต้องถอดรองเท้าเดินป่า? ต้องทำยังไงเพื่อไม่ให้เมื่อยกล้ามเนื้อ? ฯลฯ
เป็นยังไงละคะ เพื่อนๆ ได้ข้อมูลเกี่ยวกับการเทรคกิ้งที่ครบถ้วน ที่ละเอียด อ่านง่าย เข้าใจเองได้ และยังทำตามได้เองสบายๆ เลยใช่ไหมล่ะ หากมีข้อสงสัยใดๆ คอมเม้นต์ที่ช่องคอมเม้นต์ด้านล่าง เข้ามาได้เลยนะคะ หยกรอตอบแล้วค่ะ

เนื่องจากเนปาลติดอันดับต้นๆของกิจกรรมการเทรคกิ้ง ประกอบกับมีค่าใช้จ่ายที่ไม่สูง จึงมีจำนวนนักท่องเที่ยวทั่วโลกมากขึ้นๆทุกปี จนทำให้หลายๆเส้นทาง มีจำนวนนักท่องเที่ยวที่เยอะมาก มากขนาดที่ว่า คนจะแน่นและเดินติดๆกันตามทางเดินเป็นพรืดๆ จนนึกว่าต่อแถวรอรับของฟรี แบบที่จะเดินเร็วก็ไม่ได้ จะแซงก็ยาก หากหยุดตามจุดชมวิว ก็จะหาบริเวณที่เห็นวิวเต็มๆได้ยากมากเช่นกัน ไม่เพียงเท่านั้น ที่พักก็จะเต็มและหายาก จนกลายเป็นทริปเทรคกิ้งที่หงุดหงิด อารมณ์ไม่ดีไป ก็ทั้งจะแย่งกันเดิน แย่งกันกิน การที่จะได้ดื่มด่ำกับธรรมชาติและหิมาลัยจริงๆจึงเป็นไปได้ยากมาก
หากได้มีการถ่ายรูปกับวิวที่ไม่มีนักท่องเที่ยวคนอื่นใดอยู่ในรูปเลย คงเป็นคำถามยอดฮิตแรกของบรรดานักลุยทั้งหลาย ว่าท่านได้รูปนี้จากมุมใดมา ซึ่งหากมาเดินเทรคกิ้ง Manaslu CIrcuit และ Tsum Valley แล้ว ก็คงจะตอบได้ง่ายมากค่ะ ว่า “ทุกมุม ทุกที่ ทุกทางเดิน”

แล้วมันจะดีแค่ไหน หากเราได้เดินตามเส้นทางที่มีแค่เรา ที่มีแค่เสียงธรรมชาติ ทุกๆวัน ไม่ว่าจะเป็นเสียงสัตว์เล็กๆ เสียงแมลง หรือ เสียงนกมากมาย ได้เดินตามเทรลเดินจริงๆ ที่ไม่ต้องกังวลเรื่องรถ ฝุ่นควัน และผู้คนมากมาย ได้เห็นลำธารน้ำใสกิ๊กๆ ได้ยินเสียงน้ำไหลใกล้ๆชัดๆ ได้เดินผ่านชาวพื้นเมืองมากกว่านักท่องเที่ยว

ถ้าจะบอกว่า หยกค้นพบเส้นทางสวรรค์ เส้นทางในฝันของนักเทรคกิ้งแล้ว จะตามหยกไปเที่ยวไหม

เทรคกิ้ง Manaslu Circuit และ Tsum Valley สองเส้นทางที่ฮิตติด Top 5 ของเส้นทางเทรคกิ้งในเนปาลมานมนาน เส้นทางที่อยู่ในลิสต์ของใครหลายๆคน อีกทั้ง Manaslu (มนัสลู เนปาล) ยังเป็นภูเขาที่มีความสูงเป็นอันดับ 8 ของโลกอีกด้วย แต่ด้วยความที่ทั้ง Manaslu Circuit และ Tsum Valley อยู่ในเขต Restricted Area หรือ พื้นที่หวงห้าม ห้ามให้นักท่องเที่ยวเดินเทรคกิ้งเอง และนักท่องเที่ยวไม่สามารถทำการขอใบอนุญาตเดินเขาได้ด้วยตัวเอง อีกทั้งหลายบริเวณในเส้นทางนี้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในปี 2015 สิ่งเหล่านี้จึงเป็นข้อจำกัดทำให้มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเทรคกิ้งบนเส้นทางนี้น้อยลง จึงทำให้นักท่องเที่ยวคิดว่าการเข้าถึงเส้นทางเทรคกิ้ง Manaslu Circuit และ Tsum Valley, การหาข้อมูล และการขอใบ Permit นั้นค่อนข้างยาก (ทั้งๆที่จริงๆแล้ว การเตรียมการเรื่องขอใบ Permit นั้นง่ายมาก)
อีกทั้ง Tsum Valley เป็นเส้นทางน้องใหม่ที่พึ่งเปิดให้เริ่มเทรคกิ้งไม่ถึง 10 ปีเลยค่ะ โดยที่ช่วงเวลาที่เปิดให้เริ่มนั้นยังไม่ชัดเจน หลายแหล่งระบุว่าเปิดให้เดินในช่วงระหว่างปี 2006 – 2008 โดย Tsum Valley นี้มีขอบเขตติดกับทิเบตของจีน จึงทำให้การเทรคกิ้งเส้นทางนี้ มีสิ่งที่น่าสนใจมากกว่าความสวยงามและอลังการของธรรมชาติและหิมาลัย

โดยสามารถเลือกเทรคกิ้ง Manaslu Circuit เส้นทางเดียวก็ได้ แต่หากต้องการเทรคกิ้ง Tsum Valley แล้วล่ะก็ ต้องเทรคกิ้ง Manaslu Circuit ด้วยค่ะ เพราะเราจะเดินเข้า Manaslu Circuit วกเข้า Tsum Valley แล้ววกกลับออกมาที่ Manaslu Circuit อีกครั้งแต่ในเส้นทางใหม่
อยากจะบอกว่าเทรคกิ้งเส้นทาง 2 เส้นทางนี้ ทั้งเทรคกิ้ง Manaslu Circuit และ Tsum Valley นี้ เป็นรูทที่หยกชอบ และประทับใจมากๆ มากจนอยากที่จะไปอีกเลยค่ะ รูทนี้หยกใช้เวลา 20 วัน วิวที่เห็นแตกต่างกันไปทุกวัน สวยขึ้นทุกวี่ทุกวัน เป็นการเทรคกิ้งที่มีหลากหลายอารมณ์ ทั้งช่วงที่ต้องเดินกัดฟัน เคล้าน้ำตา ทั้งทรมานกับการแบกกระเป๋าที่หนัก ทั้งที่คิดว่าเตรียมตัวมาดีแล้ว แต่จริงๆแล้วยังดีได้มากกว่านี้ ทั้งมีตุ่มน้ำใสที่เท้ามากมาย จนต้องเดินแบบเกร็งๆ ลงน้ำหนักที่เท้าได้ไม่สุด เลยส่งผลกระทบให้เจ็บหัวเข่า แต่ท้ายที่สุดแล้ว… วิวที่บริสุทธิ์สวย ธรรมชาติที่ได้เดินผ่าน ก็คอยกระตุ้นฮอร์โมนความสุขให้อยู่เหนือความเจ็บปวดทั้งหลาย จนทำให้เมื่อเดินเสร็จในแต่ละวัน กลับอิ่มอกอิ่มใจ สดชื่น หายเหนื่อย หายเจ็บ หายทรมานได้อย่างไม่น่าเชื่อ กับการได้สบายใจกับสิ่งแวดล้อมรอบตัว อากาศที่บริสุทธิ์ ผู้คนที่พบผ่าน ทั้งชาวพื้นเมืองที่อารมณ์ดี เป็นมิตร ไม่มีพิษภัย ทั้งนักเทรคกิ้งร่วมอุดมการณ์ที่หลงรักการทำกิจกรรมประเภทเดียวกันที่พบเจอกันในที่พัก ที่มักจะมีเรื่องราวดีๆ ทริคเลิศๆ มีประสบการณ์ที่น่าตื่นเต้น มาแบ่งปัน คอยสร้างแรงบันดาลใจ และกำลังใจให้หยกแกร่งขึ้น และมีพลังมากขึ้น อีกทั้งการเตรียมตัวมาดีระดับหนึ่ง ความทรมานระหว่างการเดินจึงอยู่ด้วยแค่ 2 วันแรก

การเทรคกิ้งครั้งนี้ เป็น 20 วัน การเทรคกิ้งแรกที่ยาวนานที่สุดของหยก เดินเกือบ 350 กิโลเมตรเลยทีเดียวค่ะ หยกเคยเทรคเส้น Poon Hill เส้นทางฮิตฮอตอีกเส้นที่ใครๆก็รู้จัก สามารถเดินได้ 3 – 5 วัน หากใครที่กำลังมองหาเส้นทางเทรคกิ้งสั้นๆ ได้เห็นวิวหิมาลัยสวยๆ ก็ลองดูเส้นทางนี้ดูนะคะ คลิ๊กอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ลิ้งค์ตัวหนังสือสีส้มเลยค่ะ

โดยที่บทความเทรคกิ้งเนปาล ซีรีย์ 20 วัน กับ Manaslu Circuit และ Tsum Valley เรื่องเล่าและประสบการณ์มันส์ๆ ที่สอดแทรก ทริคและเคล็ดลับ ข้อมูลการเดิน ระยะเวลา ระยะทาง รวมทั้งความสูงของแต่ละหมู่บ้าน ข้อควรระวัง และอื่นๆที่ควรรู้ ซึ่งหยกจะทำการแบ่งบทความออกเป็นรายวัน หรือ รายสองสามวันค่ะ โดยมีทั้งหมด 9 ตอน ยังไงรอติดตามอ่านด้วยนะคะ
ค่าใบ Permit (ปี 2017) ทั้ง 4 ใบ คือ $235 นะคะ

นี่เกริ่นมาก็เยอะแยะ จะมัวรีรออะไรละคะ ตามไปเทรคกิ้ง Manaslu Circuit และ Tsum Valley วันแรกพร้อมๆกันเลยค่ะ
ประกันการเดินทางในเนปาล ครอบคลุมเทรคกิ้ง + ค่ารักษาพยาบาลโควิด
สำหรับเพื่อนๆ ที่กำลังมองหา “บริษัทประกันท่องเที่ยว ที่ครอบคลุมกิจกรรมเทรคกิ้งในเนปาล” คงจะทราบกันดีว่า เริ่มหายากมากๆ แล้ว หยกมีบริษัทที่หยกใช้เป็นประจำมาแนะนำค่ะ (ไม่มีสปอนเซอร์นะคะ หยกใช้เองค่ะ) คือ Tokio Marine เป็นบริษัทของญี่ปุ่น ที่มีศูนย์ในไทยค่ะ จึงติดต่อและคุยกันง่าย อ่านขั้นตอนการซื้อและรายละเอียดอื่นๆ เพิ่มเติมที่นี่ค่ะ
เพื่อความโปร่งใส: ไม่ได้มีการว่าจ้างจากบริษัทให้เอามาลงนะคะ หยกใช้เองเป็นประจำ กับทุกที่ๆ ไปเลยค่ะ ทั้งเนปาล, สโลวีเนีย, คีร์กีซสถาน และ ทาร์จิสถาน และอีกหลายที่ หยกเลยเอามาแบ่งปันค่ะ
Day 1 เริ่มต้นผจญภัย: Kathmandu – Arughat – Arkhet

-ไม่มีรถ-
การผจญภัยเริ่มขึ้นตั้งแต่เช้าวันที่จะเดินทางในกาฐมาณฑุ ก่อนจะเริ่มเทรคซะอีก ก็ช่วงที่หยกมานั้นตรงกับเทศกาลที่ยิ่งใหญ่ และสำคัญที่สุดแห่งปีในเนปาล นั่นก็คือ Deshain Festival โดยที่เทศกาลนี้กินระยะเวลายาวนานถึง 10 วันเลยเชียวค่ะ ซึ่งวันที่หยกจะเดินทางไปยังจุดเริ่มเดินที่ Arughat นั้น เป็นวันแรกที่เทศกาลจบพอดี ก็แลดูเหมือนว่าจะไม่มีอะไรใช่ไหมคะ ถ้าวันสุดท้ายของเทศกาลจะไม่ได้มีการฉลองใหญ่โตแบบทั้งวันทั้งคืนไง…
หยกติดต่อเอเจนซี่ แล้วซื้อทัวร์แบบอิสระค่ะ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย จึงต้องเดินทางด้วยรถประจำทาง ไม่ใช่รถจี๊ปส่วนตัว ซึ่งซื้อตั๋วรถประจำทางล่วงหน้าเรียบร้อย โดยนัดให้ไปขึ้นรถที่โรงแรมแห่งนึงเพื่อนั่งไปสถานีรถประจำทาง เวลา 06.30 น. สำหรับรถประจำทางรอบ 07.00 น. แต่ผ่านไป 15 นาทีก็แล้ว ก็ยังไม่มีการเคลื่อนไหวใดๆ สักพักพี่เอเจนซี่ก็เดินมาบอกว่า “มีเรื่องไม่คาดฝันนิดหน่อย เรามีตั๋วแล้ว รถประจำทางก็จอดรอแล้ว แต่คนขับยังไม่มา และติดต่อไม่ได้ เหตุมาจากการดื่มฉลองเทศกาลคืนสุดท้าย ที่ตอนนี้คงยังไม่มีใครตื่น แต่จะพยายามติดต่อต่อไป” ไอ้เราก็คิดว่าถึงเค้าจะมา แล้วต้องขับรถทั้งๆที่ยังแฮงค์โอเว่อร์อยู่นั้น คงจะไม่ดีแน่ เอเจนซี่จึงขอเลื่อนเป็นวันพรุ่งนี้แทน
-แผนบี-
แต่แหม อุตส่าห์เตรียมพร้อมสำหรับการเทรคกิ้งขนาดนี้แล้ว แพ็คของเรียบร้อย เตรียมของ เตรียมใจ ตื่นเต้นมากมาย และเช็คเอ้าท์ไปแล้วด้วย ยังไงก็ต้องไปวันนี้ให้ได้ค่ะ ไม่ยอมเสียค่าที่พักที่นี่อีกคืนเป็นแน่ จึงลองหารถจี๊ปดู หลายที่เต็มเพราะมีการจองล่วงหน้า และอีกหลายที่ก็เจอปัญหาเดียวกัน คือ ไม่มีคนขับ แต่ด้วยความพยายามของพี่ๆเอเจนซี่ก็ได้มา 1 คัน ที่แน่นอนค่ะว่าราคานั้นสูงกว่าปกติ

-ดีแล้วที่ไม่ได้นั่งรถประจำทาง-
กว่ารถจะมาถึง กว่าจะได้ออกเดินทางก็เกือบ 09.30 น. แล้วค่ะ โดยกลุ่มที่หยกไปด้วยนั้นมีทั้งหมด 4 คน และ พี่ไกด์ลูกหาบอีก 1 คน ที่จะต้องอยู่ด้วยกันเป็นเวลา 20 วัน ซึ่งพอนั่งรถไปได้สักพักก็ถือว่าโชคดีมากที่ไม่ได้ไปกับรถประจำทาง เพราะถนนที่แย่ ที่เป็นถนนดิน จึงมีฝุ่นคลุ้งกระจายตลอดเวลา ยิ่งตอนที่มีรถสวนนี่แทบจะมองไม่เห็นทางข้างหน้าเลย ไหนถนนจะคดโค้งอีก จนทำให้หยกต้องขอเปลี่ยนที่มานั่งข้างคนขับเพราะอาการเมารถ ตลอดเวลาเกือบ 7 ชั่วโมงกว่าจะถึง Arughat ที่ต้องอยู่บนรถจี๊ปที่ทั้งฝุ่น หายใจลำบาก เหนื่อย เมื่อย ระบม และเมารถมาก ถ้านั่งรถประจำทางนี่คงจะใช้เวลา 9 – 10 ชั่วโมง ตายไปเลยทีเดียว
สมแล้วกับมีคำกล่าวที่ว่า “จุดที่ยากและลำบากที่สุดของการเทรคกิ้ง คือ การเดินทางไปยังจุดเริ่มเดิน”

-ลุยต่อเลย-

มองหาทริปลุยๆ มันส์ๆ + ไกด์หญิงคนไทย ? เนปาล? ทาจิกิสถาน? คีร์กีซสถาน? จอร์แดน? ศรีลังกา?
หยกจัดทริปแล้วค่ะ ปี 2565 สนใจทริปไหน คลิ๊กอ่านเพิ่มเติมที่ภาพได้เลยค่ะ ไปผจญภัยกัน!
ด้วยความที่นั่งกันจนเหนื่อย กล้ามเนื้อทั้งเมื่อยและระบมจากถนนที่ขรุขระและคดโค้ง เมื่อถึง Arughat เพื่อนในกลุ่มเสนอว่าให้เดินต่อเลย เพื่อยืดเส้นยืดสาย เตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการเทรคกิ้ง 20 วัน เพราะเดินแค่ 1 – 2 ชั่วโมงก็ถึง Arkhet แล้ว ทั้งเป็นทางเดินราบ เดินง่าย และจะได้เป็นไปตามแผนแรกที่วางไว้ด้วย
แม้หยกจะยังเมารถอยู่ แต่ก็สู้ค่ะ อย่างน้อยก็ได้สูดอากาศบริสุทธิ์ อาการน่าจะดีขึ้นเร็วกว่าการนอนซมอยู่ในห้องสี่เหลี่ยม แต่กระเป๋าที่หนักมาก รวมน้ำดื่มก็หนักประมาณ 15 – 18 กิโลกรัมเลยค่ะ ก็คนมันงบน้อย อยากจะประหยัดสักหน่อย เลยแบกอาหารเช้าและเสบียงอื่นๆมาด้วย ทั้งยังมีแลปทอป(ที่ไม่ได้ใช้)อีก จึงค่อยๆเดินแบบเมาๆ เดินทรมานๆไป จึงใช้เวลาเดินจาก Arughat ถึง Arkhet เกือบ 2 ชั่วโมง ระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตรนิดๆ ทั้งๆที่เพื่อนคนอื่นๆถึงตั้งแต่ชั่วโมงกว่าๆแล้ว โชคดีที่มี ไม้เท้าเดินป่า (Trekking Poles) คอยช่วยพยุงให้เดินง่ายขึ้น
-ไข้ขึ้น 38.8-

คืนนี้หยกไข้ขึ้นค่ะ 38.8 องศาเลย ทั้งเพลีย เหนื่อย ปวดหัว และยังคลื่นไส้อยู่ จึงไม่อยากอาหาร แต่อยากนอนอย่างเดียวเลย มันคงจะแย่มากๆถ้าต้องมาป่วยตั้งแต่เริ่มทริป หยกจึงฝืนทาน Dal Soup ซุปถั่ว ไป และทาน ibuprofen แล้วรีบเข้านอน หวังว่าพรุ่งนี้อาการจะดีขึ้น
-พี่ไกด์ลูกหาบ-
ลืมบอกไปค่ะว่ากลุ่มหยกเลือกจ้าง porter-guide ที่เป็นลูกหาบมากกว่าไกด์ โดยจะช่วยแบกของ 15 กิโลกรัม และจะช่วยชี้ทางที่ถูกให้เดิน แต่จะไม่ได้มาอธิบายชื่อภูเขา ชื่อต้นไม้ และอื่นๆเหมือนไกด์ ที่สำคัญคือจะไม่มาจู้จี้จุกจิก บงการแผนการทั้งหมด เรายังคงเป็นผู้วางแผนทุกอย่างเอง และสามารถเปลี่ยนแผนได้ โดยพี่ไกด์ลูกหาบนี้พูดภาษาอังกฤษได้น้อยมาก แต่เราก็ไม่มีปัญหาเรื่องการสื่อสารกันค่ะ แถมพี่แกเป็นคนน่ารักและจริงใจมากด้วย หยกและเพื่อนๆจึงได้รับการถ่ายเทน้ำหนักคนละ 3.5 กิโลกรัมให้พี่ไกด์ลูกหาบช่วยแบก ของจึงยังหนักอยู่
-Arkhet 597 เมตร-
หมู่บ้านไม่เล็กไม่ใหญ่ มีที่พักให้เลือกหลายแห่งค่ะ บางแห่งอาจมีน้ำร้อนให้อาบ และมีอินเตอร์เนตให้ใช้ ราคาที่พักประมาณ 400 rs ส่วน Dal Bhat เซ็ทละประมาณ 350 rs

ติดตามบทความเทรคกิ้งเนปาลซีรีย์ 20 วัน กับ Manaslu Circuit และ Tsum Valley เรื่องเล่าและประสบการณ์มันส์ๆ ที่สอดแทรก ทริคและเคล็ดลับ ข้อมูลการเดิน ระยะเวลา ระยะทาง รวมทั้งความสูงของแต่ละหมู่บ้าน ข้อควรระวัง และอื่นๆที่ควรรู้ ตอนต่อไป ตอนที่ 2 Day 2 – Day 3 ได้ที่นี่ค่ะ
สวัสดีค่ะ
คุณหยกใช้บริการเอเจนซี่ไหนคะ และราคา porter guide วันละเท่าไหร่คะ หรือเส้นทางนี้เราสามารถใช้แต่ porter ก็ได้คะ
ว่าจะไปตุลานี้แต่ยังหาเพื่อนร่วมทริปไม่ได้เลยค่ะ ?
สวัสดีค่ะ คุณ Nch
ขอบคุณสำหรับคอมเม้นต์นะคะ 🙂 หยกไปหน้าเอเจนซี่เอาข้างหน้าค่ะ เดินหาเอาเองเลย เพราะเทรคนี้ อยู่ในเขตหวงห้าม ต้องดำเนินการผ่านเอเจนซี่ที่ถูกกฎหมายที่ได้รับการรับรองจากรัฐบาล มี permit เฉพาะ และต้องมีไกด์ที่มีใบอนุญาตไปเทรคด้วยค่ะ หยกเลยเดินหาเอา เพื่อความมั่นใจว่าเอเจนซี่นั้นๆ ไม่ปลอม แต่ขนาดเดินหาเพื่อความมั่นใจขนาดนี้แล้ว เอเจนซี่ที่หยกไปด้วย ยังจัด porter guide ที่ไม่มีใบอนุญาตมาให้หยกเลยค่ะ เลยมีปัญหานิดๆ ตอนเทรค เพราะถูกจับได้ว่าไกด์ไม่มีใบอนุญาต พูดมาก็ยาว จะบอกว่า บริษัทที่หยกไปด้วย หยกขอไม่แนะนำค่ะ 555 ทั้งนี้ ราคา porter guide ต่อวัน ประมาณ $25-30 แล้วแต่ประสบการณ์ค่ะ
หากยังหาเพื่อนร่วมเทรคไม่ได้ มาเทรคกับหยกก่อนไหมคะ หยกมีทริปที่ยืนยันออกทริปแล้ว กับเส้นทางที่คงไม่เคยได้ยิน แต่สวยสุดๆ สวยกว่า Poon Hill อีกค่ะ ได้เห็นวิวหิมาลัยพาโนรามา 4-6 ลูกเรียงรายกัน ตั้งแต่วันแรกที่เดินถึง และได้เห็นแทบจะทุกวันเลยด้วยค่ะ ที่สำคัญคือคนน้อยมากๆ หลีกสิบเท่านั้นเอง กับเส้นทางที่ชื่อ Mohare + Khopra (Khayer Lake) Trek วันที่ 6-19 พย นี้ค่ะ รายละเอียดเพิ่มเติมที่ลิ้งค์เลย และนี่รีวิวที่หยกไปมาค่ะ ลองอ่านดูนะคะ หากมีคำถามเพิ่มเติม หรือข้อสงสัยใดๆ สอบถามหยกเข้ามาได้เลยนะคะ
ว่าจะไป เมษา 2019 หาagency ไหนคะ่ ไปคนเดียว
สวัสดีค่ะ คุณ prissana
ขอบคุณสำหรับคอมเม้นต์นะคะ 🙂 เส้นทาง Manaslu นี้เป็นเขตหวงห้าม จึงมีกฎสำหรับนักท่องเที่ยวที่จะเข้าไปเทรคคือ ต้องติดต่อดำเนินการเทรค และขอ ใบ permits ผ่านเอเจนซี่ที่ได้รับการรับรองจากรัฐบาลเท่านั้น, ต้องไปกับไกด์ที่มีใบอนุญาตที่มีการรับรองจากรัฐบาล และต้องไปเทรคอย่างน้อย 2 คนขึ้นไปค่ะ ดังนั้น การไปเทรคคนเดียวไม่สามารถทำได้ค่ะ
ในส่วนของเอเจนซี่ไหนนั้น ส่วนตัวหยกแล้ว หยกมักจะหาข้อมูลจากบริษัทที่เชื่อถือได้และมีการรับรองจากรัฐฯ อย่างถูกต้อง ตั้งแต่อยู่ไทย โดยหาสัก 2-3 บริษัท และทำการส่งอีเมลสอบถามข้อมูลและรายละเอียดต่างๆ รวมถึงค่าใช้จ่าย แล้วนำมาเปรียบเทียบกัน และหยกมักจะหาเวลาเผื่อ แล้วเดินทางไปเนปาลก่อนวันกำหนดเทรค เพื่อไปพบและพูดคุยกับบริษัทเหล่านั้น เพื่อเลือกแบบตัวต่อตัว และขอเจอไกด์ด้วยค่ะ เพราะหยกคิดว่าการที่เราจะต้องอยู่กับคนๆ นั้นที่พึ่งเจอกันนานเป็นเวลากว่า 2-3 สัปดาห์นั้นค่อนข้่งยาก จึงอยากจะพบเจอเห็นหน้ากันก่อนว่าไกด์เป็นยังไง มีประสบการณ์ไหม ถูกโฉลกหรือเปล่า และอื่นๆ จะได้เทรคอย่างมีความสุขค่ะ ทั้งนี้ บริษัทท่องเที่ยวในเนปาลนั้นมีเยอะมากๆ ค่ะ ลองหาข้อมูลและอ่านรีวิวดูนะคะ
ให้ได้เจอไกด์และเพื่อนร่วมเทรคที่ถูกใจ เดินทางปลอดภัย เทรคให้สนุก และกลับมาเล่าให้หยกฟังด้วยนะคะ
สวัสดีคะ่
ขอบคุณมากคะ่คุณหยก ต้องเตรียมเสื้อ(้าขนาดไหนคะ ของที่จำเป็นคะ่
สวัสดีค่ะ คุณ prissana
ขอบคุณสำหรับคอมเม้นต์ค่ะ และต้องขอโทษที่ตอบล่าช้ามากๆ นะคะ หยกพึ่งเทรค (13 วัน) ที่เนปาลเสร็จค่ะ เลยพึ่งมีอินเทอร์เน็ต 🙂
โดยทั่วไปแล้ว อากาศจะหนาวและอาจมีลมแรงในที่สูงกว่า 3,000 เมตรค่ะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนเดินเทรคและในเวลากลางคืน หยกแนะนำให้หลีกเลี่ยงเสื้อผ้าที่ทำจากค๊อตตอน รวมทั้งผ้ายีนส์ด้วยนะคะ เพราะหากเปียกแล้วจะแห้งช้ามากๆ ทั้งความเปียกจะยิ่งทำให้หนาวขึ้นไปอีก ไม่เพียงเท่านั้น พวกค๊อตตอนนี้ยังเก็บกลิ่นสะสมอีกด้วยค่ะ ให้เลือกหาเสื้อผ้าที่ทำจากวัสดุที่โปร่งลม แห้งเร็ว เช่น โพลีเอสเทอร์ ค่ะ ในเรื่องของความหนาวเย็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งวันที่ต้องเดินข้ามพาสหรือเดินบนหิมะ (หากช่วงนั้นยังคงมีหิมะปกคลุม) ควรให้ความอบอุ่นเท้า มือ ศีรษะและหู มากเป็นพิเศษ เพื่อหลีกเลี่ยงอาการโดนหิมะกัดนะคะ และที่สำคัญคือครีมกันแดดค่ะ เพราะยิ่งสูง ยูวียิ่งแรง สามารถโดนแดดไหม้ได้อย่างง่ายดายเลยนะคะ
ส่วนของที่จำเป็นอื่นๆ ที่แนะนำก็คือกระดาษชำระค่ะ เพราะตลอดเส้นทางนั้นไม่มีไว้บริการ(ในห้องน้ำ), ถุงนอนค่ะ หากเป็นคนขี้หนาวเหมือนหยก อาจจะต้องเลือกแบบที่กันหนาวได้มากๆ หน่อย, ไม้เท้าเดินป่าก็สำคัญนะคะ (คลิ๊กที่ลิ้งค์เพื่ออ่านวิธีการเลือกซื้อและวิธีการใช้ไม้เื้าเดินป่าที่ถูกต้องได้เลยค่ะ) ช่วยทุ่นแรงการเดินและลดแรงกระแทกที่หัวเข่าได้มาก และที่ขาดไม่ได้คือพวกขนมเติมพลังทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น energy bar ช็อคโกแลต ลูกอม เยลลี่ หรือเครื่องดื่มเกลือแร่แบบผง เป็นต้น ที่นอกจากจะช่วยเติมพลังระหว่างเดินแล้ว ยังจะดีงามมากๆ หากได้ทานขนมเพลินๆ เมื่อถึงที่พัก หรือหลังอาหาร คือมันจะฟินมากๆ เลยค่ะ ทั้งนี้ ตรวจสอบน้ำหนักของที่เตรียมไปด้วยนะคะ อย่าให้มากเกินจนแบกไม่ไหว จะกลายเป็นความทรมานไปค่ะ
ทั้งนี้ หยกได้เขียนหนังสือ คู่มือเทรคกิ้งเนปาล Manaslu & Tsum ซึ่งสามารถถือได้ว่าเป็นคู่มือเทรคกิ้งเนปาลที่เป็นภาษาไทยเล่มแรกเลยก็ว่าได้นะคะ ซึ่งมีข้อมูลครบถ้วนตั้งแต่การเตรียมตัว เสื้อผ้า ของที่จำเป็น ข้อควรรู้ควรระวัง ทริคต่างๆ ประกัน การป้องกัน AMS ข้อมูลเส้นทางเดิน และรายละเอียดอื่นๆ อีกมากมายที่จะทำให้มีการเตรียมตัวที่พร้อมสุดๆ และสามารถเทรคได้อย่างสบายใจและได้ประสบการณ์ดีๆ ติดไม้ติดมือกลับมา หากคุณ prissana สนใจ สามารถคลิ๊กที่ลิ้งค์เพื่อสั่งซื้อหรืออีเมลมาหาหยกได้เลยนะคะ
หวังว่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะคะ 🙂
สวัสดีค่า รีวิวนี้คุณหยกไปช่วงเดือนไหนคะ วางแผนไปปีหน้า อยากไปเขียวๆ แบบในรูปค่า
สวัสดีค่ะ คุณอุชุตา
ขอบคุณสำหรับคอมเม้นต์นะคะ 🙂
หยกเริ่มเทรควันที่ 1 ตุลาคมเลยค่ะ วิวสวยมากๆ บรรยากาศดีสุดๆ เลยค่ะ ทุกอย่างดี คนน้อย เลยสนุกมากๆ ประทับใจรูทนี้มากค่ะ จนอยากจะกลับไปอีกเลยค่ะ
ทั้งนี้ หากคุณอุชุตาสนใจรายละเอียดเพิ่มเติม หยกเขียน หนังสือคู่มือเทรคกิ้ง Manaslu & Tsum ไว้ค่ะ ซึ่งหนังสือพร้อมจำหน่ายช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนนี้ และตอนนี้เปิดพรีออเดอร์ค่ะ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ลิ้งค์เลยนะคะ
เตรียมตัวดีๆ เตรียมตัวให้พร้อมแต่เนิ่นๆ นะคะ เทรคนี้เดินหลายวันค่ะ จะได้สนุกตั้งแต่เริ่มเทรค 🙂
ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่า??
สวัสดีค่ะ คุณอุชุตา
ยินดีมากๆ เลยค่ะ 🙂
สวัสดีค่ะคุณหยก รบกวนถามว่าเส้นManaslu เทรคน้อยกว่า20วันได้ไหมค่ะ พอจะแนะนำไกด์ให้หน่อยได้ไหมค่ะ ถ้าไปคนเดียวค่าใช้จ่ายสูงมากมั๊ยคะ
สวัสดีค่ะ คุณธัญญลักษณ์
ขอบคุณสำหรับคอมเม้นต์และการมากระตุ้นต่อมให้หยกอยากกลับไปเส้นบนเส้นทาง Manaslu Circuit & Tsum Valley นะคะ 🙂
การเทรคบนเส้นทางนี้มีกฎว่าต้องมีเทรคเกอร์อย่างน้อย 2 คนค่ะ ดังนั้นแล้วการไปเทรคคนเดียวเป็นไปไม่ได้ (หยกว่างงงงงง จ้างหยกไปเทรคเป็นเพื่อนไหมคะ อิอิ) ส่วนเรื่องไกด์นี่อาจจะต้องลองหาตามบริษัทท่องเที่ยวดูนะคะ แนะนำให้ส่งเมล์ไปถามหลายๆบริษัท ลองถามประสบการณ์และอื่นๆ นอกจะได้เปรียบเทียบราคาแล้ว ยังได้ดูคุณสมบัติไกด์และทางเลือกอื่นๆด้วย และสามารถเลือกเทรคได้ตั้งแต่ 13-22 วันเลยค่ะ
หวังว่าจะเป็นประโยชน์นะคะ
ขอบคุณมากค่ะที่กรุณาตอบ อย่งละเอียดเลย
ผมขออนุญาติรบกวนสอบถามต่อ อินบ็อกในเฟสคุณหยกนะครับ
สวัสดีค่ะ คุณ Maadeaw
ขอบคุณสำหรับการติดตามและคอมเม้นต์นะคะ
หยกรบกวนให้คุณ Maadeaw สอบถามในนี้จะดีกว่าค่ะ เพราะคำถามทุกคำถามนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนๆท่านอื่นที่กำลังหรือสนใจจะไปเทรคบนเส้นทางนี้ 🙂 หวังว่าจะเข้าใจนะคะ สามารถถามเข้ามาได้เลยค่ะ ไม่ต้องเกรงใจ และหยกยินดีที่จะตอบสุดกำลังเลยค่ะ 🙂
เป็นรูทที่น่าสนใจมากเลยครับ ไม่เคยเห็นใครไปเลย
สวัสดีค่ะ คุณ Boy_Anupong
ขอบคุณสำหรับคอมเม้นต์นะคะ 🙂
ใช่ค่ะ รูทนี้นักท่องเที่ยวยังน้อยมากๆ ธรรมชาติของการเทรคกิ้งที่ควรจะเป็นยังคงสมบูรณ์และสวยงามอยู่ค่ะ เส้นทางในฝันแบบนี้เริ่มหายากมากๆแล้ว หากมีโอกาสต้องรีบไปนะคะ แล้วจะประทับใจสุดๆเลยค่ะ 🙂